10 กฎเหล็ก สร้าง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ร้อยล้าน (ตอนที่ 1)

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจดทะเบียนในประเทศไทยหลายหมื่นราย เกิดใหม่และล้มหายตายจากตลอดเวลา แต่ยังมีผู้รับเหมาที่มองเห็นความเป็นไปได้ในการสร้าง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตจนมีรายได้เป็นร้อยล้านในเวลาเพียงไม่กี่ปี

        หลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่บิลค์ก่อตั้งขึ้น บิลค์ทีมได้คุยกับผู้รับเหมาเป็นพันราย เห็นการเติบโตของเพื่อนๆ ตั้งแต่เริ่ม สร้างธุรกิจรับเหมา จนขยับขยายเติบโต พอมีโอกาสนั่งคุยกับผู้รับเหมาที่ประสบความสำเร็จ พบว่ามีหลายอย่างที่พูดตรงกันจนน่าจะรวบรวมเป็น ข้อคิดให้กับผู้เริ่มต้นสร้างธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และผู้รับเหมาที่ต้องการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง

        ครั้งหน้าเราจะมีอะไรดีๆมาฝาก ขอให้ติดตามกันค่ะ ใครเกรงจะพลาด สมัครสมาชิกด้านล่างไว้ก่อน เพราะมีทั้งข่าวคราวอัพเดทสำหรับธุรกิจก่อสร้าง ข่าวกิจกรรมให้ผู้รับเหมา สำรวจราคาวัสดุก่อสร้าง โปรโมชั่นวัสดุก่อสร้างราคาถูกจากโรงงาน บทสัมภาษณ์ผู้รับเหมาตัวอย่าง ที่จะส่งให้ทางอีเมลล์ต่อเนื่อง

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

 

10 กฎเหล็ก สร้าง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ร้อยล้าน

บทความนี้เป็นตอนที่แรก อ่าน 10 กฎเหล็ก สร้าง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ร้อยล้าน (ตอนที่ 2) ที่นี่

 

1. เลือกเจ้าของงาน – เงินชัวร์ จ่ายตรง

ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ (ถ้าผู้อยู่จ่ายตังค์!) งานหลักของพวกเราคือก่อสร้าง! ไม่ใช่หมุนเงินนะคะ กฎข้อแรก ท่องไว้ให้ดี “งานหลักของพวกเราคือก่อสร้าง” 

        ผู้รับเหมางานเอกชนต้องระมัดระวังให้มากๆกับการเลือกลูกค้า ควรศึกษาที่มาที่ไปลูกค้า ดูประวัติความน่าเชื่อถือ เคยเบี้ยวเงินผู้รับเหมาอย่างเราๆรึเปล่า ดูไปถึงสไตล์การทำงานของเจ้าของงานด้วย อย่าไปรับงานจากเจ้าของงานที่สร้างภาระให้เราต้องเสียเวลาทวงหนี้ หมุนเงินให้ปวดหัว คงเข้าใจกันดีอยู่แล้วจริงมั้ยคะ ว่าผู้รับเหมาแบบเราจะโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง ยิ่งถ้าโดนดึงงวดท้ายๆงานก็จบยาก กำไรก็ไม่เหลือ อาจโชคร้ายถึงขั้นเจ๊ง

        ในเมื่อความเสี่ยงจากเจ้าของงานคือจุดชี้เป็นชี้ตายของ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ดังนั้น การเลือกเจ้าของงานจึงกลายเป็น กฎเหล็กข้อแรก อย่ารับงานซี้ซั้วเชียวค่ะ และไม่ว่าเจ้าของงานจะเป็นใครหน้าไหน ขอให้ทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้รัดกุมด้วย  อย่าเสี่ยงค่ะ

 

2. เสนอราคา – แบบมีกำไร

        เราต้องทำงานแบบมีกำไรที่เหมาะสมนะคะ นั่นคือ กำไรสุทธิหลังหักค่าดำเนินการทุกอย่างแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า 10% (ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน) ส่วนใครรับงานที่กำไรน้อย ฟันราคามา หรือถูกเจ้าของงานต่อรองราคาจนไม่เหลือกำไรนี่ระวังจะไม่โตนะคะ ถ้าลงแรงไปแล้วไม่โต จะเหนื่อยไปทำไมคะ เสียเวลา

        เลือกรับงานแบบทีกำไรดีกว่าค่ะ

        ขั้นแรกเริ่มจากเสนอราคาแบบมีกำไร  คิด BOQ ให้ครบ ตรงไปตรงมา เจ้าของบางคนอาจจะไม่เข้าใจโครงสร้างต้นทุนและความเสี่ยงมากมายของผู้รับเหมาก่อสร้าง คิดว่าธุรกิจรับเหมาต้องหัวหมอซ่อนอะไรไว้เยอะแยะ หรือเป็นผู้รับเหมาทำงานแล้วกำไรสูง แต่พวกเราคนในวิชาชีพรู้ดีว่าปริมาณและราคาได้เผื่อไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง ทั้งวัสดุเสียหาย ค่าของค่าแรงปรับราคา โอที สารพัด และยังมีค่าดำเนินการ ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เช่น เงินเดือนพนักงานและค่าใช้จ่ายสำนักงานของผู้รับเหมา ค่าน้ำค่าไฟ ค่าน้ำมัน ฯลฯ …

        ลองอธิบายให้เจ้าของงานฟังนะคะ ชี้แจงให้ได้ เจ้าของโครงการควรจะเลือกเราเพราะเรามีความพร้อม ทำงานคุณภาพดีและจบชัวร์ ไม่ใช่แค่เพราะราคาถูกที่สุด เดี๋ยวนี้เจ้าของงานหลายรายก็ไม่อยากมาปวดหัวทีหลังเพราะเลือกผู้รับเหมาที่เสนอราคามาถูกๆเหมือนกันนะคะ

เทคนิคการรับงานให้มีกำไร : ควรเลือกงานที่เรามีจุดแข็ง เช่น ทำเลที่ตั้งที่ทำให้เรามีต้นทุนต่ำ ใกล้ไซต์เดิม ใกล้สโตร์/แคมป์คนงาน หรืองานที่เรามีความชำนาญพิเศษ ซึ่งเป็นความได้เปรียบที่ทำให้เรามีกำไรแน่นอน

 

3. ระดมสมองช่วง Pre-Construction

เรียกประชุมค่ะ ก่อนเริ่มงานก่อสร้างให้เชิญผู้เกี่ยวข้องทุกคนมาประชุมกันให้หมด ตั้งแต่ ผู้จัดการโครงการ สถาปนิก วิศวกรสนาม โฟร์แมน ฝ่ายประมาณราคา ฝ่ายจัดซื้อ ยันฝ่ายการเงิน ให้มาระดมสมองกันก่อน

        การทำ Pre-Construction ควรทำไม่ว่าจะไซต์เล็กหรือใหญ่ ปิดห้อง ล็อคประตูเลยค่ะ กางแบบ ประชุมให้เห็นภาพตรงกัน การวางแผนไม่ได้เป็นหน้าที่ของ PM คนเดียว ข้อมูลจากทุกฝ่ายจะทำให้การวางแผนดีขึ้นค่ะ คุยเป้าหมายและแผนงานด้วยกันทั้งเรื่อง เวลา ต้นทุน และคุณภาพ รวมทั้งคุยกันไปถึงเรื่องทำอย่างไรให้งานเสร็จเร็วกว่าแผน คุมงบประมาณให้ได้ งานไม่มีตำหนิ ส่งงานได้แบบงามๆ รวดเร็ว

        ลองตั้งคำถามในการระดมสมอง ว่าจะทำงานเร็วกว่านี้ได้มั้ย? จะประหยัดต้นทุนได้ยังไง? ทำอย่างไรถึงส่งงานเบิกงวดได้? อะไรที่เป็นอุปสรรคให้เราส่งมอบงานไม่ได้บ้าง? คุยกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น งานจบดีขึ้นค่ะ

 

4. ตั้งงบประมาณ ติดตาม ควบคุมต้นทุน

มั่นใจผู้รับเหมาทุกคนก็รู้ว่าการตั้งงบประมาณและควบคุมต้นทุนตั้งแต่เริ่มโครงการ มันดีอย่างไร แต่ผู้รับเหมาเรามักไม่ได้ทำกันหรอกค่ะ เพราะหน้างานมีเรื่องวุ่นวาย จนไม่มีเวลาเก็บข้อมูลบันทึกต้นทุนที่จ่ายออกไปแล้ว 

        ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในงานก่อสร้างออกได้หลายทางค่ะ

        มีทั้งการจ่ายออกไปเพื่อสั่งซื้อวัสดุ จ่ายค่าแรง จ้างผู้รับเหมาช่วง เงินสดย่อย ฯลฯ ทำให้มีโอกาสที่ต้นทุนจะพ้นสายตา กระเด็นกระดอนรอดหลุดจากการควบคุมได้ง่าย ผู้รับเหมาควรวางระบบเอกสารและวิธีการทำงานให้เหมาะสมเพื่อให้รวบรวมต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกรายการ ให้ได้

        ธุรกิจก่อสร้าง จะควบคุมต้นทุนให้อยู่ในกรอบที่วางไว้ได้ รู้ความเคลื่อนไหวและตัดสินใจได้ทันที่เมื่อใช้ต้นทุนเกินงบประมาณ ก็ต่อเมื่อบันทึกต้นทุนได้แบบเรียลไทม์วันต่อวัน และ บิลค์เกิดมาเพื่อสิ่งนี้แหละค่ะ เราเป็นองค์ประกอบเล็กๆที่อยากเห็น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ประสบความสำเร็จ กลายเป็นสังคมคุณภาพของผู้รับเหมาก่อสร้าง

        บิลค์อยากให้ผู้รับเหมาทุกคน มีเครื่องมือควบคุมต้นทุนที่ดีใช้กัน เราจึงทำ BUILK Cost Control มาให้ใช้ฟรีๆ ไม่ต้องลงทุนซื้อซอฟต์แวร์ ใช้งานฟรี 

ผู้รับเหมา

 

5. มีเงินทุนหมุนเวียน

เกิดเป็นผู้รับเหมา ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าโครงการที่รับ

        คุณเป็นคนที่คิดว่าจะใช้เงิน Advance ทำงาน หมุนกับงวดต่อไปหรือเปล่าค่ะ นี่เป็นความคิดที่เสี่ยงสุดๆ เพราะความโชคร้ายมีอยู่จริง ถ้าต้องพึ่งเงินงวดอย่างเดียวแล้วโชคร้ายเบิกงวดได้ช้าหรือเจ้าของงานจ่ายช้า (ย้อนกลับไปดูกฎข้อ 1) จะทำให้หน้างานติดขัดทันที เมื่องานช้าต้นทุนของผู้รับเหมาจะสูงขึ้น แล้วนั่นล่ะคือกำไรที่ค่อยๆหายไป

        ในทางกลับกัน ถ้าเป็นผู้รับเหมาที่มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอที่จะทำงานต่อได้ระหว่างรอเบิกงวด งานก่อสร้างจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้

เทคนิคการใช้เงินทุน เพิ่มกำไร : หากเงินทุนมากพอที่จะซื้อวัสดุก่อสร้างเป็นเงินสดได้ คุณจะได้ส่วนลดเงินสดจากผู้ขาย (Cash Discount) 1.5-3% หรือคิดเป็นกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ 1-2% ทีเดียว ดังนั้นผู้รับเหมาหลายรายจึงเลือกซื้อวัสดุหลักเป็นเงินสด มากกว่าเครดิต

        เงินหมุน กับ กำไร ในธุรกิจรับเหมา คุณเลือกอะไรคะ? 

        แน่นอนเงินหมุน (Cash Flow หรือ กระแสเงินสด) ไม่ดีก็ทำงานไม่ได้ แต่ทำงานด้วยต้นทุนแพง กำไรน้อย ก็ไม่มีทางโตเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ย้อนกลับไป กฎเหล็กข้อ 1 . อีกครั้ง ถ้าเจ้าของงานจ่ายเงินดี บวกกับ เงินทุนหมุนเวียนของคุณเอง จะไม่มีปัญหาเรื่องหมุนเงินหรอกค่ะ แล้วก็เข้าสู่โหมดการสร้างกำไรได้

        ค่อยๆ เก็บกำไรสะสมจากโครงการที่ทำเสร็จ ไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับโครงการใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จากหนึ่งล้าน เป็นหลายล้าน เป็นหลายสิบล้าน ไปจนถึงร้อยล้าน จะช่วยให้บริษัทโตแบบแข็งแกร่งมั่นคงค่ะ การรับงานแบบก้าวกระโดด โตเร็วจนเกินไป โดยที่เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ เป็นความเสี่ยงของธุรกิจรับเหมา

 

ไว้ต่อกันตอนหน้า อีก 5 ข้อ กับ 10 กฎเหล็ก สร้าง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ร้อยล้าน (ตอนที่ 2)

ธุรกิจรับเหมาก่อร้าง

 


บิลค์ทีมเกี่ยวกับ บิลค์ทีม

บิลค์ทีม เป็นทีมงานทุกคนในบิลค์ เราอยากสร้าง สังคมผู้รับเหมาคุณภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วยธุรกิจรับเหมาก่อสร้างลดต้นทุน ประหยัดเวลา ด้วยการสร้าง โปรแกรมควบคุมต้นทุน ให้ผู้รับเหมาใช้ฟรี นอกจากโปรแกรมแล้ว เราก็ทำอะไรอย่างอื่นที่เราพอจะคิดออกไปเรื่อยๆ..เพื่อให้ผู้รับเหมามีชีวิตที่ดีขึ้น

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X