สารบัญ
ปัจจุบัน คอนกรีตผสมเสร็จ ถูกจัดอยู่ในวัสดุที่เป็นองค์ประกอบหลักของงานก่อสร้างในประเทศไทย เพราะไม่ว่าจะก่อสร้างบ้านอาคารประเภทใดก็ตาม ล้วนต้องมีเจ้าตัวคอนกรีตผสมเสร็จอยู่ในกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งอยู่เสมอ เช่น เทคาน เทเสา เทพื้น หรือแม้แต่ดาดฟ้า แล้วพี่ๆ เคยได้ยินไหมกับประโยคที่ว่า สั่งคอนกรีตกำลังเท่าไร? หากใครทำงานเกี่ยววงการก่อสร้างก็คงจะคุ้นหูคุ้นตากันอยู่ประจำใช่ไหมคะ
แล้ว “กำลังคอนกรีต” มันคืออะไรกันครับเนี่ย.. ?
กำลังคอนกรีต หมายถึง ความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตผสมเสร็จ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท นั่นก็คือกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอก (Cylinder) และกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์ (Cube) ซึ่งในประเทศไทยใช้กำลังอัดของคอนกรีต รูปทรงกระบอก เป็นมาตรฐานในการออกแบบนะจ๊ะ
ขอบคุณภาพจาก engfanatic.tumcivil.com
ตัวเลข 240 / 280 / 300 ksc บ่งบอกถึงอะไร ?
ยิ่งอ่านยิ่งงง ยิ่งปวดหัว เดี๋ยว YELLO วัสดุก่อสร้างจะยกตัวอย่างให้พี่ ๆ ได้เข้าใจง่ายขึ้นนะ
ksc ย่อมาจาก kilogram square centimetre. หรือก็คือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรนั่นเอง โดยปกติแล้ว กำลังคอนกรีต ที่เราใช้กันเป็นมาตรฐานก็คือกำลังคอนกรีตที่ 240 ksc ดังนั้นจะขอนำมาอธิบายให้แบบง่ายๆ สมมุติว่าเราสั่งคอนกรีตแรงอัด 240 ksc นั่นหมายถึง คอนกรีตผสมเสร็จที่ได้จะรับแรงต่อพื้นที่ได้ที่ 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือทุก ๆ พื้นที่ทางกว้างและยาว 1 เซนติเมตร จะสามารถรับน้ำหนักได้ 240 กิโลรัมนั่นเองจ้า
แต่เดี๋ยวก่อน.. พี่ๆ ต้องระวังเกี่ยวกับตัวเลขกำลังอัดกันด้วยนะ เพราะ 240 ksc มี สองแบบ คือ cylinder กับ cube ค่าจะไม่เท่ากัน 240 ของ cylinder จะเท่ากับ 210 cube ตรงนี้คือเทคนิคเล็ก ๆ ในการใช้งานคอนกรีต ดังนั้นควรถามให้แน่ใจก่อน เนื่องจากการรับน้ำหนักและราคาคอนกรีตจะไม่เท่ากัน ด้านล่างนี้จะเป็นตัวเลขที่เปรียบเทียบระหว่างค่ากำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอก (Cylinder) และกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์ (Cube)
ตารางเปรียบเทียบค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ
ค่ากำลังอัดคอนกรีตผสมเสร็จ | |
รูปทรงกระบอก (Cylinder) | รูปทรงลูกบาศก์ (Cube) |
140 | 180 |
180 | 210 |
210 | 240 |
240 | 280 |
250 | 300 |
280 | 320 |
300 | 350 |
320 | 380 |
350 | 400 |
380 | 420 |
400 | 450 |
420 | 480 |
450 | 500 |
500 | 550 |
550 | 600 |
600 | 650 |
800 | 850 |
คอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้กันทั่วไปในการออกแบบให้มีกำลังอัดตั้งแต่ 180-400 ksc และนิยมใช้กันมากที่สุดคือ 240 ksc cylinder นอกจากนี้กำลังอัดของคอนกรีต จะพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ต้องใช้เวลา 28 วัน เป็นมาตรฐาน นับตั้งแต่วันผลิต
กำลังของ คอนกรีตผสมเสร็จ ต้องทดสอบที่ 28 วัน มันคืออะไร? ทำไมต้อง 28 วัน?
เพราะการบ่มคอนกรีตที่ 28 วัน มีการทดสอบมาแล้วว่าเป็นจุดที่ได้กำลังคอนกรีตมากที่สุดแล้ว (บ่มนานกว่านี้ก็ไม่เพิ่มอีกแล้ว) สามารถดูเพิ่มเติมได้จากกราฟและข้อมูลด้านล่างนี้
ขอบคุณภาพจากคุณ ปุ๊ ธรรมนูญ มงคลละ
ระยะเวลาและอัตรากำลังคอนกรีตที่ได้
ระยะเวลา 3 วัน = 37%
ระยะเวลา 7 วัน = 60%
ระยะเวลา 14 วัน = 87%
ระยะเวลา 28 วัน = 100% (สูงสุด)
จากตัวเลขและกราฟสังเกตได้ว่าในช่วง 14 วันแรก กำลังคอนกรีตเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง (87%) ดังนั้นเราต้องดูแลกำลังคอนกรีตให้ดีเป็นพิเศษ เพื่อให้คอนกรีตผสมเสร็จมีคุณภาพ และได้ตรงตามค่ามาตรฐานการออกแบบ
เรื่องกำลังอัดคอนกรีตเป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานก่อสร้างที่ต้องใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ต้องใช้ให้ถูกตามมาตรฐานการออกแบบ หากผู้เกี่ยวข้องมีความรู้เบื้องต้นก็จะช่วยลดปัญหาความสับสน และความผิดพลาดในการดำเนินงาน รวมถึงความคุ้มค่าสำหรับเม็ดเงินที่จ่ายไปอีกด้วย ทาง YELLO วัสดุก่อสร้างหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับคอนกรีตผสมเสร็จมากยิ่งขึ้น ฝากติดตามบทความเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างได้ทุกอาทิตย์ที่เว็บไซต์นะคะ