เปิดให้บริการ จ.- ศ. (08.00-17.00 น.)

ตอนที่ 3 : เหล็กรูปพรรณรีดร้อน พระเอกของทุกงานโครงสร้าง

เหล็กรูปพรรณรีดร้อน คือ เหล็กรูปพรรณโครงสร้างที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยรีดให้มีหน้าตัดและรูปทรงเป็นไปตามที่ต้องการ ภายใต้อุณภูมิสูง นอกจากนี้การทำผ่านกระบวนการในขณะที่มีอุณภูมิสูง ทำให้สามารถรีดเหล็กที่มีขนาดใหญ่และหนา ซึ่งส่งผลให้สามารถสร้างเหล็กรูปพรรณที่มีลักษณะการใช้งานและรูปทรงที่หลากหลาย เช่น รางน้ำ (Chanel) เหล็กฉาก (Angle) ไวด์แฟรงค์ (Wide-Flange) เอช-บีม (H-Beam) ไอบีม (I-Beam) คัทบีม (Cut-Beam) และ ชีทไพล์ (Sheet-Pile) นอกจากนี้ในแต่ละรูปทรงก็มีขนาดที่หลากหลายตามการใช้งาน

รูปทรงของเหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่ใช้กันบ่อยๆ มีอะไรบ้าง

เหล็กฉาก (SQUARE ANGLE)

เหล็กรูปพรรณ เหล็กฉาก ส่วนมากใช้ในงานก่อสร้างโครงหลังคา เสา และ คาน

เหล็กเพลาขาว (STEEL ROUND BARS)

เหล็กรูปพรรณ เหล็กเพลาขาว คือ เหล็กกล้ากลม รูปทรงตัน ลักษณะผิวมีความเงามัน สวยงาม ทำให้ถูกนำมาใช้สำหรับอุตสาหกรรม ยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

สี่เหลี่ยมตัน (STEEL ROUND BARS)

เหล็กรูปพรรณ เหล็กสี่เหลี่ยมตัน เพลาเหลี่ยม หรือที่เรียกว่า Square Bar เหล็กเกรด A เนื้อผิวค่อนข้างตรงและทนทาน ที่ใช้กับงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป ส่วนมากเหล็กประเภทนี้จะนำไปใช้งานหน้าต่าง รั้ว ระเบียงกันตก และใช้ในงานแมชชีน สำหรับชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป

เหล็กเพลาแข็ง (CARBON STEEL ROUND BARS)

เหล็กรูปพรรณ เหล็กเพลาแข็ง หรือ เหล็กเพลาดำ คือ เหล็กที่มีกรรมวิธีการผลิตคล้ายกับเหล็กเส้นกลม แต่มีข้อแตกต่างคือลักษณะของผิวที่มีความเงา มัน สวยงาม และ มีความกลม เหมาะกับ งานประเภทที่เน้นไปในด้านของการประกอบ งานตกแต่ง

เหล็กรางน้ำ (CHANNEL)

เหล็กรูปพรรณ เหล็กรางน้ำ ส่วนมากใช้กับงานประเภทรับน้ำหนักของส่วนต่างๆ เช่น บันได คานขอบด้านนอก

เหล็กไอบีม (I-BEAM)

เหล็กรูปพรรณ เหล็กไอบีม ส่วนมากใช้งานงานโครงสร้างค้ำเสาอาคารสูง เสาส่งไฟฟ้า โรงงาน งานเครื่องจักร และ รางเครน เป็นต้น

เหล็กไวด์แฟรงค์ (WIDE-FLANGE)

เหล็กรูปพรรณ เหล็กไวด์แฟรงค์ เหมาะสำหรับงานโครงสร้างโดยเฉพาะ ที่ต้องใช้ความแข็งแรง ความทนทาน เช่น ตึก อาคารสูง คอนโด โรงงาน และบ้านขนาดใหญ่ เป็นต้น

เหล็กเอชบีม (H-BEAM)

เหล็กรูปพรรณ​ เหล็กเอชบีม ถูกเรียกในชื่อที่หลากหลายในวงการก่อสร้าง เช่น เหล็กปีกไอ เสาบีม เหล็กตัวเอช หรือเสาเอช มีคุณสมบัติรับน้ำหนักได้มาก มีความทนทานสูง ส่งผลให้ถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ สำหรับการทำโครงหลังคา เสา บ้านพักอาศัย หรือ โครงการขนาดใหญ่

วิธีการผลิตเหล็กรูปพรรณรีดร้อน

ขั้นตอนที่แรก : เริ่มจากการนำเศษเหล็ก และวัตถุดิบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาหลอมละลายในเตาขนาดใหญ่ที่มีอุณภูมิสูงประมาณ 1,600 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้น้ำเหล็กเพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนถัดไป

ขั้นตอนทีสอง : นำน้ำเหล็กที่ได้จากจากการหลอมละลายไปปรุงกับส่วนผสมทางเคมี จนได้ตามมาตรฐานชั้นคุณภาพของการผลิต

ขั้นตอนที่สาม : หลังจากนั้นก็นำน้ำเหล็กที่มีคุณภาพมาลำเลียงใส่แม่แบบให้มีลักษณะเป็นแท่งยาว และถูกลดอุณภูมิให้ต่ำลงประมาณ 1200 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่สี่ : ลำเลียงแท่งเหล็กที่ได้จากการหล่อไปยังเตาอบ เพื่อช่วยรักษาอุณภูมิของเนื้อเหล็กให้มีอุณภูมิที่เหมาะสมต่อการรีด

ขั้นตอนที่ห้า : นำแท่งเหล็กที่มีอุณภูมิเหมาะสมมารีดขึ้นรูป ซึ่งกระบวนการนี้จะมีการรีดหลายขั้นตอนจนได้ลักษณะรูปทรงเหล็กตามมาตรฐานที่ต้องการ

ขั้นตอนที่หก : นำเหล็กที่ได้รูปทรงตามมาตรฐานมาตัดด้วยเครื่องตัดตรง เพื่อให้ได้ความยาวตามที่ต้องการ ปัจจุบันส่วนใหญ่ จะใช้ความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 6 เมตร เพื่อง่ายต่อการเก็บรักษาและการขนย้าย

ขั้นตอนสุดท้าย : ตรวจสอบคุณภาพของเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง ก่อนเก็บเข้าคลังสินค้า เพื่อเตรียมส่งมอบให้กับทางลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นร้านวัสดุก่อสร้างหรือไซด์งานก่อสร้าง

    จบแล้วครับกับเรื่องของเหล็กตอนที่ 3  จากข้อมูลที่ทาง YELLO ได้นำเสนอ หวังว่าจะช่วยพี่ ๆ ผู้รับหมาหรือผู้ที่เข้ามาศึกษาข้อมูลเรื่องเหล็กรูปพรรณรีดร้อน จะได้ความรู้จากบทความและเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ต่าง ๆ ในวงการก่อสร้างเพิ่มขึ้น สุดท้ายนี้ ทาง YELLO จะพยายามนำเนื้อหา ข่าวสาร และข้อมูลที่น่าสนใจมาให้กับพี่ๆผู้รับเหมาได้ทราบอย่างต่อเนื่อง อย่าลืมกดติดตามเพื่ออัพเดทข่าวสารและโปรโมชั่นเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างก่อนใครได้ที่ line@ : @yello

เช็คราคาเหล็กออนไลน์ย้อนหลังได้เลยที่ >> เช็คราคาเหล็กออนไลน์

จำหน่ายเหล็กรูปพรรณ ราคาพิเศษ!!

เช็คราคาเหล็กรูปพรรณ ณ ปัจจุบันง่าย ๆ เพียงกดปุ่มด้านล่าง

เรื่องของเหล็ก ตอนที่ 1 : มาทำความรู้จักกับคำว่า เหล็กรูปพรรณ ให้มากขึ้นกันเถอะ
เรื่องของเหล็ก ตอนที่ 2 :
ถึงเมืองไทยจะร้อน แต่.. เหล็กรูปพรรณขึ้นรูป เย็น
เรื่องของเหล็ก ตอนที่ 3 : เหล็กรูปพรรณรีดร้อน พระเอกของทุกงานโครงสร้าง
เรื่องของเหล็ก ตอนที่ 4 : เหล็กรูปพรรณเชื่อมประกอบ เหมาะกับงานใด ที่นี่มีคำตอบ

 

 

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic and Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook Pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save