จากบทความที่แล้วทาง YELLO ได้นำเสนอเกี่ยวกับ “การเลือกใช้สายไฟฟ้า ภายในบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย” ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูกันเรื่องของสี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันความสับสนจากการใช้งาน และง่ายต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ในปัจจุบันถ้าหากพี่ๆ ผู้รับเหมาติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ ราคาสายไฟ อยู่เป็นประจำคงจะทราบกันดีแล้วว่าได้มีการกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสหกรรมไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 450/750 โวลต์ นั่นก็คือ มอก.11-2553 (มาตรฐานเดิม คือ มอก.11-2531) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะอ้างอิงมาตรฐานสายไฟมาจาก IEC Standards 60227 เป็นการแบ่งชนิดของสายไฟโดยมาตรฐาน IEC ด้วยรหัส 2 ตัว แต่ยังมีตัวเลขรหัสเดิมไว้ด้วยเพื่อป้องกันความสับสน เช่น 60227 IEC 01 (THW)
โดยเรียงจากเฟส L1, L2, L3, N, G ดังนี้
เฟส |
มอก.11-2531 (เก่า) | มอก.11-2553 (ใหม่) |
L1 |
ดำ | น้ำตาล |
L2 |
แดง | ดำ |
L3 | น้ำเงิน |
เทา |
N | ขาว(เทา) |
ฟ้า |
G | เขียว |
เขียวแถบเหลือง |
สำหรับสายไฟฟ้า ระบบ 1 เฟส / 3 เฟส สามารถแบ่งได้ง่ายๆ ตามสี ดังนี้
ระบบ 1 เฟส
ชนิดของสาย |
สีของฉนวน |
สายเฟส (L) |
น้ำตาล |
สายนิวทรัล (N) |
ฟ้า |
สายดิน (G) |
เขียวแถบเหลือง |
ระบบ 3 เฟส
ชนิดของสาย | สีของฉนวน |
สายเฟส (L1) |
น้ำตาล |
สายเฟส (L2) |
ดำ |
สายเฟส (L3) |
เทา |
สายนิวทรัล (N) |
ฟ้า |
สายดิน (G) |
เขียวแถบเหลือง |
ที่มา มอก.11-2531, มอก.11-2553
จบแล้วสำหรับวิธีดูชนิดของ สายไฟ ตามสีต่างๆ อย่างไรก็ตามการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลงสายไฟเองก็ยังเป็นเรื่องที่อันตรายสำหรับบุคคลทั่วไปอยู่ ทางที่ดีควรปรึกษาหรือทำโดยผู้เชี่ยวชาญ สุดท้ายนี้อย่าลืมกดติดตามเพื่ออัพเดทข่าวสารและโปรโมชั่นเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างก่อนใครได้ที่ line@ : @yello
เช็คราคา สายไฟฟ้า
“ลดต้นทุน เพิ่มกำไร เพื่อนรู้ใจฝ่ายจัดซื้อ”
สายไฟราคา พิเศษ ช่วยลดต้นทุนให้กับผู้รับเหมา ทั่วประเทศ
เพียงกดขอใบเสนอราคาผ่าน ระบบออนไลน์ ของ YELLO