อิฐมวลเบา เป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างกันอย่างแพร่หลาย เพราะคุณสมบัติที่มีความแข็งแรง ทนทาน รวมถึงยังตอบโจทย์ในแง่ของการนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การติดตั้งไปจนถึงการอยู่อาศัยภายในบ้าน นอกจากนี้จากการที่อิฐมวลเบาได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตออกเป็นหลายแขนง เพื่อตอบสนองความต้องการในการใข้งานแต่ละระดับ และประเภทต่าง ๆ
การแบ่งประเภทของอิฐมวลเบาโดยทั่วไป
1. การผลิตอิฐมวลเบาที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้แรงดันสูง (Non-Autoclaved System)
กระบวนการผลิตรูปแบบนี้จะสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีกสองประเภท ได้แก่
– การใช้วัสดุเบาในกระบวนการผลิต เช่น เม็ดโฟม ขี้เลื่อย ขี้เถ้า หรือชานอ้อย ทำให้คอนกรีตประเภทนี้มีคุณสมบัติที่เบา แต่จะมีอายุการใช้งานที่ลดลง และหากเกิดกรณีเพลิงไหม้สารที่อยู่ในวัสดุอาจเป็นพิษต่อผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
– ผลิตโดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติทำให้คอนกรีตฟู และทิ้งให้คอนกรีตแข็งตัว คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย และไม่ค่อยแข็งแรง
2. การผลิตอิฐมวลเบาโดยกระบวนการอบไอน้ำภายใต้แรงดันสูง (Autoclaved System)
กระบวนการผลิตประเภทนี้ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทเช่นกัน นั่นก็คือ
- Lime Base การใช้ปูนขาวเป็นส่วนผสมในการผลิต ซึ่งเป็นวิธีที่คุมคุณภาพระหว่างการผลิตได้ยาก ทำให้มีคุณภาพที่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำค่อนข้างมากกว่า
- Cement Base ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นส่วนผสมหลักในกระบวนการผลิต ซึ่งข่วนให้คอนกรีตแข็งแรง และทนทานกว่าการผลิตในลักษณะอื่น ๆ
สำหรับมาตรฐานการผลิตของอิฐมวลเบายังมีอีกสิ่งที่แตกต่างกัน ทีมงานเชื่อว่าใครหลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นผ่านตามาบ้างนั้นก็คือชั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชั้น นั่นก็คือ G2 G4 G6 และ G8 แต่โดยทั่วไปแล้วในประเทศไทยที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ คือ ชั้นคุณภาพ G2 และ G4 หากจะว่ากันง่ายๆ ก็คือชั้นคุณภาพที่มากกว่าจะมีความแข็งแรงที่มากขึ้นนั่นเอง
ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกของอิฐมวลเบา ชั้นคุณภาพ G2 และ G4
ชั้นคุณภาพ |
ความต้านทางแรงอัด (นิวตัน : ตร.มล.) |
ชนิดความหนา |
ความหนาแน่นชิงปริมาณโดยเฉลี่ย |
2 |
2.5 |
0.4 0.5 |
0.31 ถึง 0.40 0.41 ถึง 0.50 |
4 |
5.0 |
0.6 0.7 0.8 |
0.51 ถึง 0.60 0.61 ถึง 0.70 0.71 ถึง 0.80 |
6 |
7.5 |
0.7 0.8 |
0.61 ถึง 0.70 0.71 ถึง 0.80 |
8 |
10.0 |
0.8 0.9 1.0 |
0.71 ถึง 0.80 0.81 ถึง 0.90 0.91 ถึง 1.00 |
จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปข้อแนะนำในการใช้งานได้ว่า อิฐมวลเบา G2 เหมาะสำหรับการใช้ก่อสร้างผนังที่มีโครงสร้างเสาและคาน เนื่องจากมีกันป้องกันความร้อนได้ดี และยังมีความแข็งแรงทนทานที่ได้มาตรฐาน ส่วนสำหรับอิฐมวลเบา G4 นั้นเหมาะสำหรับการก่อสร้างผนังที่ไม่มีเสา และคาน เพื่อต้องการความแข็งแรงเพิ่มพิเศษของตัววัสดุที่ใช้ก่อสร้างนั่นเอง
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |