เปิดให้บริการ จ.- ศ. (08.00-17.00 น.)

4 เหตุผล ทำไมคนไทยนิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก มากกว่า เหล็กโครงสร้าง

เปรียบเทียบราคาคอนกรีต กับโครงสร้างเหล็ก

สำหรับวงการก่อสร้างในประเทศไทย พวกเราจะทราบกันดีว่า งานก่อสร้างส่วนใหญ่แล้วก็จะใช้โครงสร้างที่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เป็นหลัก ด้วยเหตุผล และปัจจัยที่หลากหลาย อย่างเช่น 

4 เหตุผลทำไมคนไทยถึงนิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็กทำโครงสร้าง

  1. ความไม่คุ้นชินกับการใช้โครงสร้างเหล็ก 
  2. การก่อสร้างด้วยโครงสร้าง คสล. โดยเฉพาะการก่อสร้างที่หน้างาน ค่อนข้างจะยืดหยุ่นและแก้ไขงานได้ง่ายกว่ามากๆ 
  3. ราคาค่าแรงงานก่อสร้างในประเทศไทยถูกมากๆ จึงไม่ค่อยมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบให้งานเสร็จเร็วนัก หากไม่ใช่สถานที่ประกอบธุรกิจที่จะต้องเร่งสร้างรายได้
  4. ราคาวัสดุโดยรวมถูกกว่าค่อนข้างมาก

เปรียบเทียบราคาของโครงสร้างทั้งสองประเภท

หากเรานำเฉพาะในงานส่วนของเสาโครงสร้างมาเทียบกัน สมมุติว่าเรามีอาคารอยู่ 1 หลัง แล้วมีความสูงระหว่างชั้นอยู่ที่ประมาณ 2.5 เมตร และเสาโครงสร้างจะต้องรับน้ำหนัก 95 ตัน โดยหากเราทำการออกแบบเสาต้นนี้ โดยการเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกัน ดังนี้

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (reinforced concrete pole)

หากเลือกออกแบบให้หน้าตัดเสาเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสแล้ว (คำนวณตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือ วสท.) เราจะต้องใช้เสา คสล. ที่มีขนาด 27.5 x 27.5 เซนติเมตร และมีเหล็กยืน DB-12 จำนวน 6 เส้น

คอนกรีตเสริมเหล็ก

เสาเหล็ก (Steel Structure)

หากเราเลือกใช้เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาใช้ (เหล็กกล่องรับน้ำหนักในแนวดิ่งได้ดีมากๆ) เหล็กเกรดทั่วไป คือ SS400 ซึ่งมีกำลังรับแรงดึงที่จุดคราก (Fy = 2,400 ksc) ก็จะสามารถเลือกใช้เหล็กกล่องที่มีขนาดเท่ากับ 20 x 20 x 0.6 cm.

เสาเหล็ก

เมื่อเรารู้ขนาดของเสาที่ใช้วัสดุที่แตกต่างกันแล้ว ก็สามารถที่จะนำมาทำการประมาณราคาต่อได้ โดยที่ในงานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น ก็จะต้องทำการถอดปริมาณวัสดุแต่ละชนิดออกมา เช่น ใช้ปูนเท่าไหร่ เหล็กเส้นทั้งเหล็กข้ออ้อยและเหล็กเส้นกลมมีน้ำหนักเท่าไหร่ ค่าแรง แต่ในส่วนของเสาโครงสร้างเหล็กนั้น การคิดราคาจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเหล็กที่ใช้

หากเรามาลองถอดปริมาณและราคากันแบบคร่าวๆ ก็จะได้ว่า เสาคอนกรีตขนาด 27.5 x 27.5 ซม. ยาว 2.50 m. มีปริมาตรของคอนกรีตเท่ากับ 0.19 ลูกบาศก์เมตร ราคาของคอนกรีตประมาณ 2,000 บาท/ลูกบาศก์เมตร ดังนั้นราคาคอนกรีตสำหรับเสา 1 ต้น เท่ากับ 380 บาท / ค่าเหล็กข้ออ้อย (DB12) - ใช้สำหรับทำเป็นเหล็กยืน จำนวน 6 เส้น ยาว 2.50 เมตร เผื่อความยาวการดัดงออีก 10% และราคาเหล็กข้ออ้อยประมาณ 20.8 บาท/กก.จะได้ว่าต้องใช้เหล็กยืนทั้งหมดประมาณ 14.65 กก. คิดเป็นราคาเท่ากับ 305 บาท / เหล็กเส้นกลม (RB6) - ใช้สำหรับทำเป็นเหล็กปลอกทุกระยะ 15 cm. จำนวน 17 ปลอก ความยาว (เผื่อความยาวการดัดงออีก 5% ) 0.7 m./ปลอก ราคาอยู่ที่ประมาณ 22.4 บาท/กก. ดังนั้นจะได้ว่าเหล็กปลอกทั้งหมดที่ใช้มีน้ำหนักเท่ากับ 3.37 กก. เป็นราคาประมาณ 60 บาท / ค่าแรง - โดยปกติแล้วคิดอยู่ที่ประมาณ 30 - 50% ของราคาวัสดุรวม >> ราคาวัสดุรวมของเสาคอนกรีต เท่ากับ 380 + 305 + 60 = 745 บาท คิดค่าแรงที่ 40% ของค่าวัสดุจะดีราคาค่าแรงเท่ากับ 300 บาท (คิดเลขกลมๆ) รวมราคาทั้งสิ้น 1,045 บาท

มาดูทางฝั่งของเสาเหล็กกล่องกันบ้าง ซึ่งเป็นวัสดุที่มีมาตรฐาน มอก. รองรับอยู่แล้ว (สามารถเปิดดูค่าน้ำหนัก และขนาดมาตรฐานได้จาก มอก.107) ดังนั้น เหล็กกล่องขนาด 20 x 20 x 0.6 cm. ก็จะมีน้ำหนัก (กิโลกรัม) ต่อความยาว 1 เมตร อยู่ที่ 35.8 กิโลกรัม / เมตร ดังนั้นเมื่อคูณกับ 2.5 เมตร ที่เป็นความยาวของเสา ก็จะได้ว่า เสาต้นนี้มีน้ำหนักอยู่ที่ 89.5 กิโลกรัม

พอรู้น้ำหนักของเหล็กแล้ว ก็จะรู้ราคานะครับ โดยหากตีราคาของเหล็กในปัจจุบันแล้ว ลองตีเป็นเลขกลมๆ ก็คือ 40 บาท / กิโลกรัม (ซึ่งคิดรวมราคาค่าติดตั้งแล้ว) ดังนั้นเสาเหล็กต้นนี้ ก็จะมีราคาเท่ากับ 89.5 x 40 = 3,580 บาท นั่นเอง

โดยสรุปแล้ว จะเห็นว่าราคาของเสาเหล็กนั้นแพงกว่าราคาคอนกรีตเสริมเหล็กค่อนข้างที่จะมาก โดยคิดเป็นประมาณ 3.5 เท่า เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้งานโครงสร้างนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของอาคารด้วย เช่น หากทางเจ้าของอาคารต้องการให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ดูโปร่งโล่ง ก่อสร้างและเปิดใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทำให้ไซท์งานเลอะเทอะเนื่องจากฝุ่นผง การใช้โครงสร้างเหล็กก็อาจจะเป็นคำตอบได้ครับ

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 500 ksc

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 450 ksc

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 420 ksc

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 400 ksc

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 380 ksc

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 350 ksc

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 320 ksc

วัสดุก่อสร้างสำหรับ กรุงเทพฯ ปริมณฑล

คอนกรีตผสมเสร็จ ORC คอนกรีต 300 ksc

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic and Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook Pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save