อย่างที่หลายๆ ท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า ถ้าเราจะอ้างอิงมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น ก๊อกน้ำ ฝักบัว และอื่น ๆ รวมถึงสินค้า เหล็กรูปพรรณ เราจะคุ้นเคยกันดีกับตราหรือสัญลักษณ์ตัวนึง ซึ่งก็คือ สัญลักษณ์ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ออกมาตรฐานมานั่นเองครับ
.
รูปแบบของมาตรฐานที่ว่านี้ ก็จะเป็นหนังสือที่จะบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องใช้วัสดุอะไรในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังมีการระบุขนาด และมิติของผลิตภัณฑ์ตัวนั้น รวมไปถึงการกำหนดระยะความคลาดเคลื่อนของการผลิตที่สามารถยอมรับได้ไว้ให้ทราบ เป็นต้น
.
เช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์เหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (หน้าตัดรูปตัวเอช H-Beam I-Beam เหล็กตัวซีรางน้ำ) และ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น (หน้าตัดรูปตัว C ตัว Z และเหล็กกล่อง) ที่เราน่าจะคุ้นเคยกันดี ก็จะมีการอ้างอิง มอก. เช่นเดียวกัน โดยที่ผลิตภัณฑ์เหล็กแต่ละประเภทก็จะมีเลข มอก. ที่แตกต่างกันไปเป็นของตัวเอง
.
สำหรับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot-Rolled Structural Steel Section หรือ HRS) ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกได้ว่าถูกหยิบมาใช้บ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีขนาดหน้าตัดที่หลากหลาย สามารถใช้งานง่าย และคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างก็คุ้นเคยกันดี ซึ่งเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน หรือ HRS นี้ ก็จะอ้างอิง มอก.1227-2558
.
สำหรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่พวกเราใช้อ้างอิงกันในประเทศไทย จะไปอ้างอิงมาตรฐานที่ออกมาโดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งหน่วยงานนี้เค้าก็จะออกมาตรฐานเล่มนึงออกมา คือ มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือที่เราคุ้นหูคุ้นตาเรียกกันติดปากว่า มอก. (ภาษาอังกฤษจะใช้ตัวย่อว่า TIS) รวมถึงวัสดุเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างก็จะอ้างอิง มอก. หรือ TIS ด้วยเช่นกัน หากเป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อนก็จะอ้างอิง มอก. หมายเลข 1227
.
โดยหากเปิดเข้าไปดูในรายละเอียดแล้วก็จะเห็นว่ามีการระบุเกรดเหล็กไว้ 2 ประเภท 7 เกรดด้วยกัน ซึ่งจะมีลักษณะเป็น ตัวหนังสือ 2 ตัวแรก และตามด้วยตัวเลขอีก 3 ตัวต่อท้าย ดังนี้
“SS400, SS490, SS540, SM400, SM490, SM520 และ SM570”

ตัวอักษร 2 ตัวแรก : จะเป็นการระบุชื่อของเหล็กโครงสร้าง
SS = Structural Steel (เหล็กที่ใช้สำหรับงานโครงสร้าง)
ไม่เหมาะสำหรับงานเชื่อม เนื่องจากไม่มีการควบคุมค่าคาร์บอนในกระบวนการผลิต
SM = Steel Marine (เหล็กที่ใช้ได้ดีในงานเชื่อม มักใช้ในเรือเดินสมุทร)
เหมาะสำหรับงานเชื่อม เนื่องจากมีการควบคุมค่าคาร์บอนไม่ให้เกินค่าที่กำหนด
เลข 3 หลักด้านหลัง : จะบอกถึงค่า Tensile Strength หรือ ค่า Fu ของเหล็ก ในหน่วย MPa (ถ้าจะแปลงเป็น ksc ก็คูณด้วย 10 เข้าไปโดยประมาณ)
Note : จะไม่มีบอกค่า Yield Strength หรือ Fy นะครับ ตรงนี้ต้องเปิดตารางดูเอง แต่ส่วนมากค่า Fy จะน้อยกว่าค่า Fu ประมาณ(แบบหยาบๆ) 1400-1600 ksc
ทีมงาน YELLO วัสดุก่อสร้าง ออนไลน์ หวังว่า จะช่วยให้เข้าใจเรื่องของผลิตภัณฑ์เหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างได้มากขึ้นนะครับ