เปิดให้บริการ จ.- ศ. (08.00-17.00 น.)

เลือกแอร์เป็น เย็นทั้งบ้าน แถมเหลือเงินในประเป๋า เพี๊ยบบ!

แอร์ราคาโครงการ

แอร์ หรือ เครื่องปรับอากาศ ในประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นของคู่กัน เรียกได้ว่าทุกบ้านและอาคารสำนักงานต่าง ๆ นั้นก็ใช้แอร์กันทั้งสิ้น โดยในสมัยนี้เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ก็จะมีให้เลือกสรร โดยแต่ละแบบก็จะมีฟังก์ชั่นที่แตกต่างกัน และมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน โดยหากเราเลือกเครื่องปรับอากาศที่ไม่เหมาะกับการใช้งาน ก็อาจส่งผลเสียและทำให้เปลืองพลังงานได้เช่นกัน โดยประเภทของเครื่องปรับอากาศสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 แบบหลักๆ ด้วยกัน ส่วนจะมีแบบไหนกันบ้าง ตามเยลลี่มาดูกันได้เล๊ย

ประเภทเครื่องปรับอากาศหรือแอร์กับความเหมาะสมในการใช้งาน

เครื่องปรับอากาศติดผนัง

เครื่องปรับอากาศชนิดนี้เป็นที่นิยมสำหรับบ้านและที่อยู่อาศัย โดยมีฟังก์ชั่นการทำงาน รวมถึงดีไซน์ที่หลากหลาย โดยเครื่องปรับอากาศชนิดนี้เหมาะกับห้องที่มีขนาดเล็ก รวมไปถึงบ้านและที่อาศัยทั่วไป

ข้อดี : รักษาได้ง่าย และมีแบบประหยัดพลังงานให้เลือกใช้

ข้อเสีย : ไม่เหมาะกับการทำงานหนัก กระจายลมได้น้อยกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่น

เครื่องปรับอากาศแบบตู้ตั้งพื้น

เป็นเครื่องปรับอากาศแบบติดตั้งบนพื้น เหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ ผู้คนหนาแน่น ต้องการกระจายความเย็นไปทั่วห้อง

ข้อดี : มีการกระจายความเย็นได้ดี ทนต่อการใช้งาน รวมไปถึงทนต่อฝุ่นควันต่าง ๆ

ข้อเสีย : เปลืองพลังงานกว่าแอร์ประเภทอื่น ไม่มีแบบให้เลือกเยอะและอาจมีเสียงที่ดังกว่าเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง

เครื่องปรับอากาศฝังในฝ้า

เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีการติดอยู่ที่ฝ้าเพดาน ทั้งตัวเครื่อง ท่อน้ำ ท่อยา ทำให้เราไม่เห็นตัวเครื่องภายในห้อง

ข้อดี : เน้นเรื่องความสวยงามเพราะเราจะไม่เห็นตัวเครื่องของแอร์ ทำให้ภายในบ้านนั้นสวยเหมือนเดิม

ข้อเสีย : ติดตั้งยากและมีการบำรุงรักษาและทำความสะอาดได้ยากกว่าชนิดอื่น

เครื่องปรับอากาศแขวนใต้ฝ้า

เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องที่มีขนาดเล็กไปถึงกลางที่มีคนอยู่เยอะ เช่นร้านค้า อาคารสำนักงาน เป็นต้น

ข้อดี : มีการกระจายความเย็นได้ทั่วถึง

ข้อเสีย : มีมอเตอร์ใหญ่กว่าแบบติดผนัง ทำให้มีเสียงที่ดังกว่าจึงไม่เหมาะในห้องนอน

การคำนวณ BTU ของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับห้อง

BTU ที่หลาย ๆ คนเรียกนั้น เป็นคำศัพท์ที่ย่อมาจาก British Thermal Unit ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้วัดขนาดในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ โดยหากตัวเลข BTU เยอะ ก็จะทำความเย็นได้เยอะตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ทำความเย็นได้กระจายในพื้นที่ ๆ ใหญ่ขึ้น แต่ก็จะยิ่งทำให้ใช้พลังงานที่เยอะมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

โดยการเลือกเครื่องปรับอากาศเราต้องเลือกจำนวน BTU ที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง โดยหากเราเลือก BTU ที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้เกิดผลเสีย โดยหากเราเลือก BTU ที่เยอะเกินไปก็จะทำให้เราเสียเงินกับการซื้อเครื่องปรับอากาศเกินความจำเป็น และมีการติดตั้งที่แพง แต่หากเราเลือก BTU ที่น้อยเกินไปก็จะทำให้ห้องไม่เย็น เครื่องปรับอากาศทำงานหนักจนพังได้

โดยการเลือกแอร์ที่เหมาะสมเราควรเลือกที่ BTU สัมพันธ์กับพื้นที่ห้อง และหากเป็นห้องที่เจอกับแสงแดดก็ต้องเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU ที่มากกว่าปกติ เพราะการสร้างความเย็นจะลบจากอุณหภูมิห้องที่ร้อนเพราะต้องเจอกับแสงแดด หรือความร้อนจากส่วนอื่น ๆ ด้วย

โดยการคำนวณ BTU ให้สัมพันธ์กับห้อง สามารถคำนวณได้จากสูตร

BTU =  พื้นที่ห้อง ( กว้าง x ยาว ) x ความแตกต่าง

โดยความแตกต่างแบ่งได้ 2 ประเภท

600 - 700 = ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน
700 - 800 =ห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก

ตัวอย่างเช่น

ห้องกว้าง 4 ยาว 5 เมตร ห้องเป็นห้องที่มีความร้อนน้อย ใช้ตอนกลางคืน

จะเท่ากับ (4×5) x 700 = 14,000 BTU

โดยแอร์ในท้องตลาดมีขนาด 12,000 BTU และ 18,000 BTU ให้เลือกเกินกว่าห้องที่ใช้จริงคือ 18,000 BTU เพื่อที่แอร์จะได้มีความเย็นทั่วถึงและไม่ทำงานหนักจนเกินไป

สนใจเครื่องปรับอากาศ ราคาโครงการ สามารถขอใบเสนอราคาได้เลยที่

ที่มา:

https://www.boonthavorn.com/

https://www.infinitydesign.in.th

 

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic and Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook Pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save