5 จุดเจ็บ กับดักงานดินของนักสร้างมือใหม่

สำหรับนักสร้าง “มือใหม่” (Rookie) หรือ คนที่ยังไม่ชำนาญ สิ่งที่ต้องระวังมากๆคือเรื่องดิน แค่มือของท่านยังผ่านการลงมือทำมาน้อยในสาย งานก่อสร้าง เพียงแต่ท่านต้องเรียนรู้และลงมือทำ เพราะงานในฐานะนักสร้างเป็นการเล่นกับความฝันของคน อาจเป็นเงินเก็บทั้งชีวิตสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย หรือการก่อสร้างอาคารสำนักงาน คอนโด ในการทำรายได้เชิงธุรกิจ ต้องแข่งขันด้านการขาย ดอกเบี้ย คู่ค้าต่างๆ  ในสิ่งที่ท่านกำลังสรรสร้าง  โดยความสูญเสียเป็นเรื่องปกติในงานแต่การลดความสูญเสียในงานให้น้อยที่สุด (Lean Construction) เป็นต้นทุนสู่ความสำเร็จ  

วันนี้เรามาคุยกันเรื่องงานดินในการก่อสร้าง ที่อาจจะกลายเป็นงานหิน ของใครหลายคนเป็นงานแรกซึ่งทุกอย่างจะชุลมุนมาก สำหรับนักสร้างมือใหม่ ทั้งงานขออนุญาต เอกสารต่างๆ สัญญา เงื่อนไขการทำงานที่ต้องเตรียม ต้องดิวกับ Owner สารพัดงานในช่วงเริ่มต้น มาดูกันว่าเพื่อนๆ ตอนที่เป็นมือใหม่หัดสร้าง จะเจอข้อไหนกันบ้างกับ 5 จุดเจ็บ กับดักงานดินของนักสร้างมือใหม่

 

 

เครื่องจักรวิ่งทางไหนดีใช้กี่ครั้ง 

ตั้งแต่เส้นทางเข้าของรถส่งวัสดุ  เข็มที่ตอกเสร็จที่จะโผล่เหนือดิน พื้นที่วางเหล็กและวัสดุ พื้นที่เตรียมงาน ที่พักคนงาน เส้นทางสัญจรในไซต์ ที่เอ่ยมาคือสิ่งที่ต้องอยู่บนขอบเขตที่ดินก่อสร้างหรือขอบเขตของ งานก่อสร้าง จะโชคดีหากท่านขอใช้พื้นที่ข้างเคียงได้ ตัวอย่าง งานในเมืองสร้างทาวน์โฮมขนาด 28 ตร.ม. ปลูกเต็มพื้นที่ ท่านจะบริหารพื้นที่อย่างไร ในส่วนเครื่องจักรกับงานดิน อีกทั้งต้องคำนวณจำนวนครั้งการใช้ให้ดีเพราะเป็นต้นทุนที่สำคัญ ค่าเช่าต่อวันอยู่ที่ 3,000-8,000 บาทขึ้นกับพื้นที่และปริมาณงาน ตัวอย่างจำนวนครั้งที่ใช้ ครั้งที่ (1) ปรับที่ (2) งานเข็มวันตอก (3) งานฟุตติ้ง (4) กลบดินกลับ (5) ขนย้ายดินเข้าคานซอย (6) ขุดท่อระบายน้ำรอบบ้าน เป็นต้น หากท่านมีงานไฟฟ้าใต้ดิน งานปรับภูมิทัศน์ (Land Scape) งานรั้ว อาจต้องมีอีก 2-4 ครั้ง คิดจำนวนที่ 8 ครั้ง ใช้ราคากลางๆ ที่ 5,000 บาท/ครั้ง ก็เป็นเงินถึง 40,000 บาท ไม่น้อยนะครับสำหรับต้นทุนนี้ (Cost Control) เทียบต้นทุนบ้านชั้นเดียวกับบ้าน 3 ชั้น ต้นทุนส่วนนี้เท่ากันเลยครับ  

 

 

หมุดไม่ชัด ใครว่าเรื่องเล็ก ๆ

มีกี่คนที่ยอมเสียที่ดินตัวอย่างขอบเขตที่ดินกับข้างบ้าน หมุดผิดเพียง 10 ซม. แต่ที่ดินยาว 80 เมตร คิดเป็นพื้นที่ 8 ตร.ม. เลยนะครับ ลองดูมูลค่าที่ดินที่ 40,000 บาท/ตร.ม. คิดเป็น 320,000 บาท ที่ต้องสูญเสีย ทีนี้คิดว่า 10 ซม. ที่ว่าเล็กมั้ยถ้าเป็นคุณ ? รวมถึงความสูญเสียหากดำเนินการไปแล้ว และต้องรื้อถอน งานตรวจสอบหมุดที่ดินเป็นเรื่องแรก ในงานก่อสร้างที่ต้องทำครับ มีประมาณ 4 Party ด้วยกัน คือ เจ้าของที่ดิน ผู้รับเหมา เจ้าของพื้นที่ข้างเคียง และกรมที่ดิน ทำหน้าที่เป็นคนชี้ขาดตำแหน่งหมุดเขตที่ดิน (Land pin) ที่แน่นอน โดยค่าใช้จ่ายตรวจสอบเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท สำหรับ งานก่อสร้าง แล้วเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยไม่ได้
 

 

กองดินไว้ไหนกันดี

อีกหนึ่งปัญหาที่มาคู่กับแล้วทำไมไม่เก็บไว้จะซื้อทำไม ซึ่งงานทิ้งกับงานใช้ระยะเวลาห่างกันเพียง 15-30 วันขึ้นกับความเร็วของงาน งานคือการขุดดินออกมาเพื่อเทฟุตติ้ง กับจะต้องถมกลับเข้าไปในช่วงงานคานคอดิน หรือปรับพื้นที่รอบๆ หากโชคดีอาจฝากไว้กับพื้นที่ข้างเคียงได้แต่ในเมืองยากมากครับ อาจเป็นต้นทุนที่ต้องยอมให้เกิดการสูญเสียหรืออยู่ในต้นทุนการดำเนินงานอยู่แล้ว (แค่ต้องไม่ลืมคิด) ซึ่งจะยากตอนทำงานเพราะกองดินจะกีดขวางทั้งคนเครื่องจักรขณะปฏิบัติงาน การแก้ปัญหาทั่วไปคือ การจ้างรถหกล้อ (ดั๊มส์) รอระหว่างขุดเพื่อขนออกเลย แต่ต้องไม่ลืมเรื่องการติดเวลาของรถขนาดเกิน 6 ล้อด้วยที่จำกัดช่วงเวลาวิ่ง ส่วนการดำเนินการทิ้งหรือขายอยู่ทีข้อตกลงของผู้รับเหมาและเจ้าของที่ดินครับ  

 

 

น้ำขึ้นให้รีบสูบ 

หากท่านมีโอกาสได้ทำงานใกล้ทะเล แม่น้ำหรือแหล่งน้ำ เตรียมพระเอกที่ชื่อ ไดโว่” ไว้ได้เลยครับ ดูขนาดที่เหมาะสมเน้นให้ใหญ่กว่าปริมาณงานที่ทำอยู่และเลือกร้านค้าที่มีการรับประกัน เพราะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เสียบ่อย เพราะ!!! งานก่อสร้าง เราไม่เน้นซ่อม (Preventive Maintenance) ผู้รับเหมาระดับเราเน้นซื้อใหม่ เพราะกำไรเราเยอะ….ถามจริงมั้ย ? (ยิ้มอ่อน) ปัญหาเรื่องระดับน้ำหนุนสำหรับงานฐานรากเป็นเรื่องที่อาจกระทบเวลาแผนก่อสร้างได้  

ขุดที่หลังมันส์กว่า

มีงานบางอย่างที่เราต้องอธิบายกับเจ้าของถึงลำดับงานที่ต้องทำภายหลัง เช่น งานสระว่ายน้ำ งานท่อใยหิน (ท่อระบายน้ำใต้ดิน) งานท่อไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น งานที่เห็นภาพหน่อยจะเป็นงานสระว่ายน้ำ ปริมาณดินที่ถูกขุดออกมาจะมาก-น้อย ขึ้นกับขนาดสระ ยกตัวอย่างสระขนาดที่นิยมทำ Pool villa สัก 3.00×8.00 เมตร ความลึก 1.40 เมตร คิดเป็นปริมาตร 33.60 ลบ.ม. เปรียบเทียบกับกล่องส่งสินค้าขนาดใหญ่ปริมาตร 0.035 ลบ.ม. ถึง 960 กล่อง สายช๊อบน่าจะกะปริมาณได้ถูกครับ การทำความเข้าใจกับเจ้าของบ้านเรื่องของลำดับงาน อาจทำการบันทึกในแผนงวดงานก่อสร้างเพื่อลดความขัดแย้งที่จะเกิดในอนาคต 

 

 

ปัญหาพื้นฐานในบทความนี้จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับมือเก๋าเลยแต่สำหรับนักสร้างมือใหม่แล้วมีอีกเป็นร้อยปัญหาที่ต้องเจอ หากท่านมีที่ปรึกษาหรือเพื่อนในงานก่อสร้าง ท่านสามารถขอความเห็นกับ Defect หรือคำปรึกษาฉพาะจุดที่ท่านไม่มั่นใจได้ผ่าน Application BUILK iNSITE โดยทำการ Invite และแท็คชื่อเพื่อให้คำแนะนำผ่านการดูภาพหน้างาน โดยไม่ต้องรบกวนเวลาและการเดินทางมายังไซต์งาน นักสร้างที่อยากช่วยเหลือให้คำแนะนำอยากช่วยให้วงการก่อสร้างมีคุณภาพยังมีอยู่อีกมากครับ ทดลองวิธีการใหม่กับผลลัพธ์ใหม่ ๆ กันนะครับ 

 

สนใจใช้แอปพลิเคชั่นตรวจไซต์หน้างาน BUILK iNSITE สามารถกดปุ่มเพื่อขอเดโม่ทดลองใช้ฟรีได้เลยที่

ติดตามพวกเราเพิ่มเติมได้ที่

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save