BIM Thailand จะเปลี่ยนวงการก่อสร้างได้หรือไม่?

BIM Thailand คืออะไร?

BIM หรือ Building Information Modeling เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับวงการก่อสร้าง ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง ซึ่ง BIM จะเป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมกระบวนการต่างๆ ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำอย่างน้อยหนึ่งแบบจำลองแบบดิจิทัล อย่างการออกแบบ การเขียนแบบ การคำนวนโครงสร้าง การประมาณราคา การจัดซื้อ รวมไปถึงการวางแผนงานต่างๆของอาคาร และไม่นานมานี้ทาง BIM Club Thailand ได้จัดงาน BIM City 2018 ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2018 ที่เป็นงานรวมตัวผู้รับเหมามาแชร์ความคิดเห็นของกันและกันเกี่ยวกับ BIM โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 3 sessions

            Sessionที่1 เป็น Morning Talk จากคุณชานนท์ เรืองกฤตยา หรือคุณโก้ CEO อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ที่จะมาแชร์ประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับ BIM ให้ทุกคนได้ฟังครับ คุณโก้ได้เริ่มเล่าเกี่ยวกับสตาร์ทอัพตัวหนึ่งที่มาจากมหาลัย Stanford ชื่อว่า ALICE ซึ่งอลิสนี้เป็น World’s first automated BIM และก็เป็น Startup ที่คุณโก้เชื่อว่ามีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้วงการก่อสร้างยกระดับไปได้อีก stepหนึ่ง

คุณโก้เขายังเชื่ออีกว่า BIM จะเปลี่ยนโลกวงการก่อสร้างได้ในอนาคต เพราะด้วยความสามารถของ BIM มันเองไม่ว่าจะเป็นการถอดแบบ BOQ หรือจะเป็น Cast detection ก็ตาม คุณโก้ก็ได้พูดเอาไว้อีกว่า “BIM ไม่ใช่ Nice to have, but it is Must have” ซึ่งหมายความว่าทุกคนจำเป็นที่จะต้องใช้มันในอนาคต ตอนนี้บริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เองก็ได้มี Value Chain ที่สำคัญมากนั่นคือผู้รับเหมาท่านไหนที่จะมาทำงานร่วมกับ อนันดา จะต้องใช้ BIMในการทำงานเท่านั้น สุดท้ายนี้คุณโก้บอกว่า ต่อให้ BIM จะถูกเอามาใช้งาน ยังไง BIM ก็จะไม่ถูกมาแทนแรงงานคน แต่ว่าคนพวกนั้นจะต้องขยันขึ้นและมีความรู้ด้าน software ให้มากขึ้น หากสนใจฟังคุณชานนท์ เรืองกฤตยา หรือคุณโก้ พูด คลิกที่นี่

            Sessionที่2 มีทั้งหมด 3 speakers, คุณเสรี จาก Autodesk จะมาเล่าเกี่ยวกับตัวบริษัทและพูดถึงBIM, คุณอรรถสิทธิ์ ศิริสนธิ Assistant Vice President จาก Sino-Thai Engineering จะมาเล่าประวัติการใช้งาน BIM, และคุณสุทธิพงษ์ สงกรานต์ Managing Director จาก Sketchup Home Co.Ltd.  ที่จะมาพูดถึงการใช้งานของ Sketchup Home.

Autodesk 

คุณเสรีจาก Autodesk ได้ทำการแบ่งแนวโน้มของเทคโนโลยีเป็นทั้งหมด 3 ส่วนได้แก่ …

       1. Design

ซึ่ง Design เองก็แบ่งออกอีกเป็น 6 หัวข้อย่อย : Paas (Platform as a Service), Virtual Reality, Augmented Reality, Smart Workplace, Computational BIM, และ Connected BIM.

      2. Construction

ซึ่ง Construction แบ่งออกอีกเป็น 8 หัวข้อย่อย : Virtual Reality, Augmented Reality, Commercial UAVs (Drones), Connected BIM, Machine Learning, Smart Robots, Addictive Manufacrtoring, และ Volumetric.

      3. Owner

เจ้าของก็แบ่งออกเป็น 8 หัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน : Virtual Reality, Augmented Reality, Connected BIM, IoT Platforms, Machine Learning, Smart Robots, Additive manufacturing, Volumetric

หากสนใจฟัง คุณเสรี คลิกที่นี่

Sino-Thai

คุณอรรถสิทธิ์ ศิริสนธิ Assistant Vice President จาก Sino-Thai Engineering เริ่มจากการอธิบายเกี่ยวกับ AEC industry (Architecture, Engineering, Construction) ซึ่งหมายถึงการรวมตัวของหลากหลายสายอาชีพเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วเวลาเราคุยกันเรื่องบ้านหรือก่อสร้าง คนเดียวที่จะได้ผลประโยชน์ก็คือผู้รับเหมาหรือ ตัว C, คุณอรรถสิทธิ์ บอกว่าเราต้องหาทางทำอย่างไรก็ได้ให้ไปสู่ AEC Industry  นอกจากพูดถึง AEC Industry แล้ว คุณอรรถสิทธิ์ ก็เล่าถึงงานของ Sino-Thai ที่ได้ใช้ BIM ในการทำงานเช่น CAT Head Office and Complex Building, MRT Blue line C4, MRT Green land C3, และ Swimming Pool at Naresuan Camp  หากสนใจฟัง คุณอรรถสิทธิ์ คลิกที่นี่

Sketchup Home

เนื้อหาที่คุณสุทธิพงษ์พูดในsession นี้แบ่งออกเป็น 3เนื้อหา, BIM คืออะไร, ทุกคนเริ่มใช้ BIM พรุ่งนี้ได้เลยหรือไม่?  และอนาคตของโลก disruptive จะเป็นอย่างไร? คุณสุทธิพงษ์ได้บอกไว้ว่า BIM คือโปรแกรมที่จะช่วยให้ผู้รับเหมา ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น มันทำให้ผู้รับเหมาสามารถมองเห็นภาพที่เป็น 3มิติ อีกข้อดีก็คือ เวลาทีมงานเข้าประชุมแล้วโชว์ภาพ BIM ออกมา ทุกคนในทีมจะเห็นรูปเป็นภาพเดียวกันมากกว่าเดิม คุณสุทธิพงษ์ ก็ได้บอกต่ออีกด้วยว่าทุกคนสามารถเริ่มใช้ BIM ได้วันพรุ่งนี้เลยเพราะมันไม่ได้ยาก แล้วเขาก็มีคอร์สสอนของ บ้าน Sketchup ให้อีกด้วย, สุดท้ายนี้คุณสุทธิพงษ์ก็บอกว่า โลกอนาคตไม่ได้เป็นอะไรที่น่ากลัวขนาดนั้น ถ้าทุกคนเริ่มใช้ BIM และเข้าใจมันจริงๆ

ถ้าหากสนใจฟัง คุณสุทธิพงษ์ สงกรานต์ คลิกที่นี่

 

            Sessionที่3 นี้เป็นSessionช่วงบ่าย โดยคุณสมศักดิ์ วรรักษา จะขึ้นมานำเสนอเกี่ยวกับ AppliCAD และ ArchiCAD ซึ่งAppliCAD ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1994 และได้มีพัฒนาตัวเองมาอยู่เรื่อยๆ ตอนแรกเลย AppliCAD ขายแค่ AutoCAD แล้วก็เริ่มขาย Sketchup ส่วนตอนนี้ก็ได้ขาย BIM แล้วนั่นก็คือ ArchiCAD ปัจจุบัณ AppliCAD ขายสินค้าครบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น 2D CAD, 3D CAD, CG, หรือจะเป็น BIM

ประวัติของ ArchiCAD

ArchiCAD ได้พัฒนามาจากบริษัท Graphic Soft ตั้งแต่ปี 1987 และตอนนี้ใช้อยู่มากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก การใช้งานของArchiCAD นี้สามารถใช้ได้กับทั้ง Apple และ Window และโปรแกรม ArchiCAD เป็นโปรแกรมที่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งราคาของ ArchiCAD อยู่ที่ 89,000บาท ต่อuser นอกจากนั้น คุณสมศักดิ์ ก็ใช้โชว์วีดีโอตัวอย่างการใช้งานของ ArchiCAD และอธิบายข้อมูลเพิ่มเติม หากใครสนใจฟัง คุณสมศักดิ์ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

สุดท้ายของ session นี้เป็น speaker ชื่อคุณจารุกิติ มะยุรา มาจากบริษัท Nawarat Patanakarn จะมาเล่าประสบการณ์การใช้ BIM โดยคุณจารุกิติเริ่มจากการเล่า Product&Service ของบริษัท และ แจ้งให้ทราบว่าบริษัท Nawarat เป็นบริษัทมหาชน, บริษัท Nawarat ได้ทำการซื้อ license ของ2ค่ายซึ่งได้แก่ ArchiCAD และ Revit และได้ทำการส่งลูกน้องไปเรียนรู้การใช้งาน สุดท้ายตัดสินใจว่า ArchiCAD ใช้งานสะดวกกว่าและมีทีมงานคอย support user อยู่ตลอดเวลา เลยเลือกที่จะใช้เพียง ArchiCAD หลังจากอธิบายว่าทำไมถึงใช้ ArchiCAD เสร็จ คุณจารุกิติ ก็ได้โชว์ผลงานที่ได้ใช้ BIM และบริษัท Nawarat ก็มีเทคนิคการแบ่งงานโดยใช้ สีคนละสีต่อคน ซึ่งจะเห็นได้ว่าใน ArchiCAD ของเขานั้นก็จะมีหลากหลายสี หากสนใจฟัง คุณจารุกิติ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

Leave a Reply

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X