TREES คืออะไร ทำไมธุรกิจก่อสร้างต้องแคร์?

การพัฒนาบ้านเมืองกับการก่อสร้างเป็นของคู่กัน ธุรกิจก่อสร้างทั้ง ผู้รับเหมา ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง มีบทบาทสำคัญที่ทำให้การพัฒนาเมืองดำเนินต่อไปเรื่อยๆ

แต่ด้วยทรัพยากรบนโลกที่เราใช้หมดไปกับการพัฒนาเมือง การใช้วัสดุ ใช้พลังงาน เปลี่ยนพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร เป็นที่อยู่อาศัย ทำการค้า ทรัพยากรหลายอย่างใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน หรือแม้แต่ ภูเขาที่ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แล้วคนรุ่นถัดๆจะมีทรัพยากรใช้หรือไม่? จึงเกิดมาเป็นแนวคิดเรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อทรัพยากรหลงเหลือไปยังคนรุ่นหลังด้วย

เรื่องของ การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เกี่ยวกับธุรกิจก่อสร้างตรงๆ และเป็นที่คุ้นหูกันมากขึ้นเรื่อยๆ คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง อาคารเขียว GREEN BUILDING ซึ่งสถาบันหลายแห่ง จัดทำมาตรฐานและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เน้นที่การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงตลอดช่วงอายุของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ

จำเป็นต้องรู้เรื่องอาคารประหยัดพลังงานหรือเปล่า

ด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยตรง กระแสของการรักษาสิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มขึ้นในหลายด้าน ประกอบกับผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีกำลังซื้อหรือชาวต่างชาติ เริ่มหาทางพื้นที่ที่อยู่แล้วมีสุขภาวะที่ดี ซึ่ง Green Building ตอบโจทย์ด้านนี้ เราจึงเห็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำหลายแห่ง สร้างโครงการประเภทนี้มากขึ้น นำมาเป็นจุดขายของโครงการ

เมื่อความต้องการอาคารประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น ธุรกิจก่อสร้างทั้ง ผู้รับเหมา ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ที่ทำความเข้าใจความต้องการที่เปลี่ยนไป จะสร้างรายได้จากกระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อนคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น SCG มีผลิตภัณฑ์ส่วน SCG Green Building และทีมผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียวมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว

ตัวอย่าง Bangkok Residences ที่นำเรื่อง GREEN BUILDING มาเป็นจุดขายของโครงการ

แบบไหนเรียกว่า Green Building

จะเป็น Green Building หรือ อาคารอนุรักษ์พลังงาน นั้นต้องมีคะแนนผ่านตามเกณฑ์ในแต่ละหัวข้อ เช่น การใช้วัสดุ การประหยัดค่าไฟ ฯลฯ ส่วนเกณฑ์ที่นิยมกันทั่วโลกคือ LEED อ่านต่อเรื่อง LEED ที่นี่ ซึ่งอาคารระดับไฮเอนด์หลายแห่งในไทยใช้เกณฑ์นี้ เช่น AIA Capital Center, อาคารกรุงศรี สำนักงานเพลินจิต, ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่, เกษร ทาวเวอร์, FYI Center ซึ่งการได้รับการรับรองจาก LEED สามารถยกระดับภาพลักษณ์ของอาคารได้ดีทีเดียว

เนื่องจากว่า LEED เป็นเกณฑ์สากล จัดทำที่ประเทศสหรัฐเมริกา การยื่นขอการรับรองแต่ละครั้งใช้ต้นทุนสูงมาก รวมถึงมีประเด็นเรื่องความเข้ากันได้ของบริบทพื้นที่ เช่น พื้นที่จอดรถต้องไม่เกินกี่ % แต่ในประเทศไทยจำเป็นต้องมีที่จอดรถจำนวนมาก ดังนั้นในหลายๆประเทศจึงพัฒนาเกณฑ์ที่ใช้ในประเทศนั้นๆขึ้นมาให้เหมาะกับแต่ละประเทศมากขึ้น และลดต้นทุนของการดำเนินงานด้วย

TREES เกณฑ์ประเมินอาคารเขียวแบบไทยๆ

ในประเทศไทยมี เกณฑ์ TREES ระบบประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย พัฒนาโดย สถาบันอาคารเขียวไทย มีการเปิดอบรมผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียวอย่างต่อเนื่อง และอาคารหลายแห่งใช้เกณฑ์ TREES โดยเฉพาะ อาคารที่พักอาศัยในเครือ Whizdom ของ Magnolia Quality Development เช่น WHIZDOM 101 และ Whizdom Avenue Ratchada-Ladprao

Whizdom 101
Whizdom avenue ratchada-ladprao

 

Whizdom Connect

ธุรกิจก่อสร้างจะตอบรับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ของ LEED ,TREES หรือแม้กระทั่งเกณฑ์การประเมินอื่นๆ เช่น เกณฑ์อาคารเขียวของภาครัฐของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือ เกณฑ์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีแนวคิดที่คล้ายกัน จะต่างกันที่รายละเอียด ซึ่งอาจจะดูว่าลูกค้าของเราอิงหลักเกณฑ์ไหน โดยที่ TREES มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • หมวดที่ 1 การบริหารจัดการอาคาร (Building Management)
  • หมวดที่ 2 ผังบริเวณและภูมิทัศน์ (Site and Landscape)
  • หมวดที่ 3 การประหยัดน้ำ (Water Conservation)
  • หมวดที่ 4 พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere)
  • หมวดที่ 5 วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง (Materials and Resources)
  • หมวดที่ 6 คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality)
  • หมวดที่ 7 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)
  • หมวดที่ 8 นวัตกรรม (Green Innovation)

จะเห็นได้ว่า โครงการก่อสร้างที่มีแผนการ ยื่นขอการรับรองอาคารเขียว จะทำให้รายละเอียดในกิจกรรมงานก่อสร้างและวัสดุที่ใช้ต่างออกไป หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม มีเอกสารเผยแพร่ที่เว็บไซต์ของสถาบันอาคารเขียว

โอกาสหน้า เรามาแกะรายละเอียดของเกณฑ์ของ TREES จำนวน 100 หน้า ให้เข้าใจง่ายๆ อ่านเร็วๆกันบ้าง

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X