เปิดให้บริการ จ.- ศ. (08.00-17.00 น.)

4 STEP เก็บ “เหล็กรูปพรรณ” หน้าไซต์งาน ให้มีประสิทธิภาพ

หากพูดถึงไซต์งานก่อสร้างแล้ว โดยส่วนใหญ่ทางทีมก่อสร้างจะมีการกองวัสดุต่างๆ เช่น เหล็กรูปพรรณ ปูน ไม้ต่างๆ เพื่อเตรียมใช้ดำเนินการก่อสร้างให้มีความราบรื่น และคล่องตัว อาจจะมีทั้งวัสดุก่อสร้างที่เหลือใช้กองรอการนำไปทิ้ง และวัสดุที่รอการนำไปใช้งานก่อสร้าง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเหล็กรูปพรรณ เพราะเป็นวัสดุก่อสร้างที่สำคัญอย่างมากในการก่อสร้างอาคาร และบ้านเรือน ทำให้ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เพื่อทำให้คุณภาพของเหล็กอยู่ในมาตรฐานที่ดี พร้อมใช้งานเมื่อถึงเวลา

การเก็บรักษา เหล็กรูปพรรณ แบบไหนถือว่าเหมาะสม ?

สำหรับวิธีเก็บรักษา และจัดเก็บเหล็กรูปพรรณหน้าไซต์งาน ทาง YELLO ขอแนะนำเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1.วางแผนในการเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บเหล็กรูปพรรณ

ในการก่อสร้างโครงการขนาดกลาง-ใหญ่ จะมีการใช้เหล็กรูปพรรณในปริมาณมาก โดยเฉพาะเหล็กรูปพรรณรีดร้อน เช่น เหล็กเอชบีม (H-BEAM) เหล็กไวด์แฟรงค์ (WIDE-FLANGE) เหล็กไอบีม (I-BEAM) และเหล็กรางน้ำ (CHANNEL) และเหล็กฉาก (SQUARE ANGLE) เป็นต้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมสถานที่จัดเก็บอย่างมาก ทั้งในส่วนของการเหล็กที่ต้องนำไปใช้งาน และเศษเหล็กที่เหลือใช้ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการสร้างโรงเก็บเหล็กแบบชั่วคราวไว้ในพื้นที่ของไซต์งาน โดยการเทคอนกรีตผสมเสร็จหนาประมาณ 15 - 20 ซม. ขึ้นอยู่กับปริมาณ และน้ำหนักที่ต้องรับ นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการทำฐานรอง เช่น ไม้ หรือเศษเหล็กเหลือใช้ มารองเพื่อป้องกันเหล็กรูปพรรณ สำผัสกับพื้นโดยตรง เพราะอาจจะทำให้เกิดสนิมจากความชื้นของพื้นนั่นเอง

2.เคลือบสีกันสนิมบริเวณเนื้อ เหล็กรูปพรรณ

การใช้เหล็กรูปพรรณที่ผ่านการเคลือบสีกันสนิมนั้นมีหลายวิธี เช่น การนำเหล็กรูปพรรณ มาทาสีกันสนิมในไซต์งานเองก่อนการนำมาใช้ ซึ่งวิธีนี้ไม่แนะนำเนื่องจากหากอยู่ในช่วงฤดูฝน หรือการก่อสร้างที่มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างที่ยาวนานจะมีโอกาสที่จะเกิดสนิมอยู่มากเกือบจะ 100%

ดังนั้นแนะนำให้ควรทำการพ่น หรือทาสีกันสนิมในทันทีที่เหล็กรูปพรรณมาถึงไซต์งานหรือสถานที่จัดเก็บ นอกจากอาจจะสั่งเหล็กรูปพรรณที่มีการเคลือบสีกันสนิมมาตั้งแต่โรงงาน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้รักษาคุณภาพของเหล็กรูปพรรณให้อยู่ในสภาพที่ทนทาน พร้อมใช้งาน และสร้างความมั่นใจในการก่อสร้างมากขึ้นอีกด้วย

3.การแบ่งจัดเก็บเหล็กรูปพรรณตามประเภท

สำหรับโครงการในบางแห่ง ผู้ออกแบบหรือวิศวกรมีการใช้วัสดุประเภทเหล็กรูปพรรณอยู่ 2 เกรด เช่น SS400 SM520 ซึ่งบางโครงการวิธีนี้สามารถช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างได้มากถึง 20% แต่ไม่ควรมองข้ามเรื่องการจัดเก็บเหล็กรูปพรรณ 2 เกรดให้มีความชัดเจน อาจจะมีการติดสัญลักษณ์ หรือป้ายบอก เพื่อป้องกันการสับสน นอกจากนี้ยังเพิ่มความคล่องตัวในการนำไปใช้อีกด้วย

4.การเตรียมพื้นที่จัดเก็บสำหรับโครงการขนาดเล็ก

ในกรณีที่ไซต์งานค่อนข้างมีพื้นที่จำกัด เนื่องจากโครงการมีขนาดเล็ก ไม่แนะนำให้ทำโรงเก็บเหล็กรูปพรรณชั่วคราว เนื่องจากอาจจะทำให้งบประมาณบานปลาย ไม่คุ้มค่า

แนะนำให้ทำการจัดสรรค์เขตพื้นที่สำหรับเก็บเหล็กรูปพรรณในพื้นที่เล็กๆ มุมใดมุมหนึ่งของไซต์งาน และทำการปูด้วยพลาสติก หรือผ้าใบไว้ แทนการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ เพื่อป้องกันไม่ให้เหล็กรูปพรรณ ไปสัมผัสกับดินโดยตรง เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดสนิมจากความชื้นของดิน

หวังว่าเนื้อหาการเก็บรักษา เหล็กรูปพรรณ นี้จะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย YELLO วัสดุก่อสร้างจะทำการอัพเดทเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์อยู่สม่ำเสมอ อย่าลืมติดตาม และเข้ามาอ่านได้ทุกวันนะจ๊ะ 

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic and Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook Pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save