“กาวซีเมนต์จระเข้ทอง” ถุงเล็กกะทัดรัด แต่คุณภาพแจ๋วสุดๆ

หมดกังวลเรื่องกระเบื้องบวมแตก ทุกห้องของบ้าน

นอกจากปัญหากระเบื้องแตกร้าวที่หลายบ้านต่างเป็นกังวล และควรป้องกันไม่ให้เกิดเหตุบานปลายแล้ว กระเบื้องกลวงก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่ไม่ควรเพิกเฉย ต้องทำการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนเช่นกัน  ซึ่งถ้าหากมีรูกลวงมาก ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้กระเบื้องหลุดร่อน ในภายหลังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบายปลาย รวมถึงเสียค่าใช้จ่ายที่หนักหน่วง เจ้าของบ้านควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และทำการซ่อมแซมให้ทันท่วงที

อาการของ “กระเบื้องกลวง” มีลักษณะอย่างไร ? 

เมื่อเคาะกระเบื้องและมีเสียงก้องๆ แสดงว่าข้างใต้กระเบื้องเกิดรูกลวง หรือโพรงใต้กระเบื้อง โดยเกิดจากสาเหตุเคาะกระเบื้องไม่แน่นระหว่างที่ปู และสาเหตุจากการที่ช่างปูซาลาเปา จึงทำให้กาวใต้แผ่นกระเบื้องกับพื้นไม่ติดกันเต็มแผ่น ซึ่งถ้าหากกระเบื้องมีรูกลวงเยอะ ก็เป็นสาเหตุทำให้กระเบื้องหลุดร่อนได้เช่นกัน ดังนั้นเจ้าของบ้านควรตรวจเช็คอย่างละเอียด โดยการเคาะกระเบื้องว่าแผ่นไหนกลวง เพื่อจะได้บอกช่างให้แก้ไขโดยเร็ว

วิธีแก้ไขกระเบื้องกลวง

หากคนในบ้านมีความรู้เรื่องการซ่อมแซมบ้านอยู่บ้าง สามารถทำการแก้ไขกระเบื้องกลวงได้ตามขั้นตอนดังนี้

1. แกะกระเบื้องกลวงที่ปูไม่ได้มาตรฐานออก
2. ใช้เครื่องมือช่าง “ลูกหมู” ตัดรอบๆ แผ่นกระเบื้อง จากนั้นสกัดเอาแผ่นเก่าออกมา
3. เอาปูนเก่าออกมา และล้างทำความสะอาด
4. พรมน้ำให้หมาดๆ และทำการผูกระเบื้องแผ่นใหม่
ในกรณีที่กระเบื้องบางแผ่นแตก สามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะกระเบื้องที่มีปัญหา ไม่จำเป็นต้องแกะออกทั้งหมด โดยทำการสกัดกระเบื้องที่มีปัญหาออก และปูแผ่นใหม่เข้าไปแทนของเดิมที่เสียหาย ซึ่งเป็นวิธีที่อาจใช้เวลานาน เนื่องจากต้องค่อยๆ สกัดเอากระเบื้องที่มีปัญหาออกอย่างใจเย็น ถึงจะสามารถปูแผ่นใหม่เข้าไปแทนได้

วิธีการซ่อมแซมกระเบื้องบางแผ่น

  1. ขูดปูนยาแนวรอบขอบกระเบื้องออกให้หมด
  2. ใช้เครื่องเจียร์ตัดกระเบื้องให้ขาดเป็นแนวรอบ โดยห่างจากขอบกระเบื้องประมาณ 1 นิ้ว เพื่อไม่ให้เครื่องมือสกัดกระแทกโดนแผ่นอื่น รวมถึงทำให้การสกัดเป็นเรื่องง่ายขึ้น
  3. นำค้อนเหล็กค่อยๆ สกัดแผ่นกระเบื้องออกให้หมด โดยทำการสกัดพื้นเดิมให้มีความลึกประมาณ 2 มม. เพื่อให้กาวซีเมนต์สามารถยึดเกราะได้ดี
  4. ทำความสะอาดพื้นผิวที่จะทำการติดกระเบื้องให้สะอาด
  5. ทากาวซีเมนต์สำหรับติดกระเบื้องบริเวณด้านหลังแผ่นกระเบื้องจนเต็ม จากนั้นปูกระเบื้องแผ่นใหม่โดยใช้แรงกดเพียงเล็กน้อย
  6. ทำการวัดระดับพื้นให้แนวขอบกระเบื้องเท่ากับกระเบื้องแผ่นอื่นๆ
  7. ในกรณีที่แผ่นกระเบื้องสูงกว่ากระเบื้องแผ่นอื่น ให้ใช้ค้อนยางค่อยๆ ตอกลงไปเบาๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหน้ากระเบื้องเป็นรอย หรืออาจนำผ้าหนาๆ มารองอีกหนึ่งชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้กระเบื้องเกิดรอยแตกร้าว
  8. รอเวลาให้กาวซีเมนต์แห้งสนิท จากนั้นลงยาแนวกระเบื้อง
  9. โดยให้ลงยาแนวลงไปตามร่องกระเบื้องให้ครบทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้เกิดการยึดเกาะที่แน่นหนา และมีความแข็งแรงคงทน
  10. ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบยาแนวที่เกินออกมา แล้วนำผ้าแห้งเช็ดเพื่อเก็บรายละเอียดในขั้นตอนสุดท้าย

หากพบว่ากระเบื้องที่ต้องทำการซ่อมแซมเพียงบางจุด ซึ่งถ้าซื้อกาวซีเมนต์ถุงใหญ่ ก็เกรงว่าจะใช้ไม่หมด อีกทั้งอาจเก็บไว้นานเกินไปจนกาวซีเมนต์เสื่อมประสิทธิภาพ “กาวซีเมนต์จระเข้ทอง” (สำหรับการซ่อมแซม) เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ โดยเป็นกาวซีเมนต์ ถุงเล็กกะทัดรัด แต่คุณภาพคับแน่น เรียกได้ว่าจิ๋วแต่แจ๋ว! เหมาะสำหรับการซ่อมแซมกระเบื้องที่หลุดไม่กี่แผ่น มาพร้อมคุณสมบัติที่สามารถใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่า ปู ปะ ซ่อม และตกแต่งได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะใช้กับวัสดุแบบไหนก็ซ่อมแซมได้อย่างมืออาชีพโดยไม่มีขาดตกบกพร่อง

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X