ราคาเหล็ก สูง เริ่มแก้ไขอย่างไร BUILK มีคำตอบ 

ในปี 2564 สถานการณ์ไวรัส COVID-19 เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งเป็นต้นตอของปรากฏการณ์ในหลาย ๆ เรื่อง  แต่หากมองลงไปในวงการก่อสร้างแล้ว สิ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก คงหนีไม่พ้น “ราคาเหล็ก” ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากเทียบกับช่วงปลายปี 2563 ราคาเหล็กปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 50% เลยทีเดียว เชื่อว่า พี่ๆหลายคนยังคงติดตามข่าว และสถานการณ์ราคาเหล็กอย่างใกล้ชิด 

วันนี้ BUILK Thailand จะพาพี่ๆทุกท่านไปเจาะลึกทุกประเด็นของราคาเหล็ก จากข้อมูลในแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้พี่ๆใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยเล่าตั้งแต่ต้นตอของสาเหตุ ผลกระทบที่ตามมา และวิธีการแก้ไข ทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมไว้ให้แล้วที่นี่แล้ว 

สาเหตุที่ทำ ราคาเหล็ก ปรับตัวสูงขึ้นมาก

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจของโลกหยุดชะงัก ส่งผลให้ในช่วงแรกความต้องการ (Demand) การใช้งานเหล็กลดลงทั่วโลก ประกอบกับการเพิ่มมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล ทำให้เกิดการปิดตัวของโรงงานในหลายประเทศ   

แต่ปลายปี 2563 ผลลัพธ์จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงข่าวดีจากวัคซีนไวรัส COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ และเริ่มมีการฉีดในประเทศมหาอำนาจของโลก โดยเฉพาะประเทศจีน ที่สามารถควบคุมสภานการณ์ได้อย่างอยู่หมัด ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ก็คือความต้องการในการใช้งานเหล็กจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย นอกจากนี้ประเทศจีนได้มีมาตรการส่งเสริมการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินจากภาครัฐไปยังภาคเศรษฐกิจ   ส่งผลให้จีนผลิตเหล็ก (Supply) ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้  เมื่อปัจจัยมาผนวกกันส่งผลให้ราคาเหล็กปรับตัวพุ่งสูงขึ้นนั่นเอง 

 

ราคาเหล็ก

อ่านบทความ ราคาเหล็ก สูงขึ้นเพราะอะไร ติดตามต่อได้ที่ https://www.builk.com/yello/ราคาเหล็ก-ขึ้นเพราะอะไร/

 

ผลกระทบที่ตามมาในงานก่อสร้าง

งานก่อสร้างเป็นงานที่มีการระบุสัญญาชัดเจน ตั้งแต่วันที่เริ่มทำสัญญาก่อสร้างกับทางเจ้าของงาน ทำให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาวัสดุก่อสร้างในช่วงระหว่างการก่อสร้าง ทำให้ราคาที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุน และกำไรของโครงการโดยตรง การรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบกับกระแสเงินสดที่มีความคล่องตัวลดลง ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาหลายเรื่องตามมา โดยทาง BUILK ได้ทำการสรุป และรวบรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ดังนี้

1. ต้นทุนโครงการที่เพิ่มขึ้น

จากการสำรวจข้อมูลจากผู้รับเหมาของ BUILK ได้ข้อมูลว่า เหล็กเป็นวัสดุที่สำคัญในงานก่อสร้าง และส่งผลกระทบกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1%-10% ขึ้นอยู่กับประเภทของโครงการว่ามีการใช้งานเหล็กมากน้อยแค่ไหนทาง BUILK จึงนำข้อมูลที่วิเคราะห์สัดส่วนต้นทุนที่เกิดขึ้นในปี 2564 ของงานประเภท บ้าน/ทาวน์เฮ้าส์/ที่พักอาศัยแนวราบ โดยแบ่งสัดส่วนต้นทุนในเป็น 2 แบบด้วยกันได้แก่

 

ราคาเหล็ก

สัดส่วนต้นทุนตามรหัสต้นทุน (Cost Code) จะเห็นได้ว่าต้นทุนรหัส 1xx ค่าวัสดุ เป็น 56% ของมูลค่า งานทั้งหมด เมื่อทำการเจาะลึกในข้อมูลต้นทุนค่าวัสดุลงไป

 

ราคาเหล็ก

จากภาพสรุปได้ว่า ต้นทุนในส่วนงานเหล็กโครงสร้างและงานโลหะ มีสัดส่วนโดยประมาณอยู่ที่ 9% เมื่อนำข้อมูลทั้ง 2 อย่างมาคำนวณจะได้ว่า ต้นทุนค่าวัสดุของเหล็กโครงสร้าง เทียบกับต้นทุนของทั้งโครงการอยู่ที่ 4% – 5% และประกอบกับข้อมูลของค่าเหล็กที่สูงขึ้นประมาณ 50% จากปลายปีที่แล้ว ได้ข้อสรุปว่า ต้นทุนของโครงการจะสูงขึ้น 2%-2.5% ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่ส่งผลกระทบต่อกำไรทำให้โครงการมีกำไรลดลงตามไปด้วย

อ่านบทความ สัดส่วน ต้นทุนก่อสร้าง บ้าน/ทาวน์เฮ้าส์/ที่พักอาศัยแนวราบ สำรวจโดย BUILK ติดตาม    ต่อได้ที่ https://www.builk.com/th/ต้นทุนก่อสร้าง-แนวราบ/

 

2. การประมูลงาน

ส่งผลให้ผู้รับเหมามีการตัดราคาในการประมูลงาน เพราะต้องการกระแส เงินสดเพื่อหล่อเลี้ยงบริษัทแม้จะยอมขาดทุนในบางงานก็ตาม จากการสำรวจผู้รับเหมา BUILK ได้ข้อมูลว่า การเสนอราคายากขึ้น เนื่องจากราคาเหล็กเพิ่มขึ้นส่งผลให้ ต้องเผื่อราคาเหล็กที่เยอะขึ้นเพื่อประมาณการราคาเหล็กที่อาจสูงขึ้นหลังจากทำสัญญา แต่หากเผื่อราคาเยอะเกินไปก็ทำให้โอกาสได้งานน้อย เพราะการตัดราคาของคู่แข่งที่ร่วมประมูลงานด้วย

วิธีการแก้ไขปัญหา ราคาเหล็ก

BUILK ได้รวบรวมแนวทางในการแก้ไขปัญหา ในสภาวะราคาเหล็กที่สูงขึ้น จากประสบการณ์จริงของพี่ ๆ ผู้รับเหมาที่มาแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ และหวังว่าผู้รับเหมาสามารถผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยดี เรามาดูกันว่าสามารถแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใดบ้าง

1. เจรจากับลูกค้า (Owner)

เป็นสิ่งแรงที่ผู้รับเหมาควรทำเป็นสิ่งแรก เนื่องจากไม่มีต้นทุนในการทำ และสามารถเริ่มทำได้ง่ายที่สุดไม่ต้องใช้เวลาเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ที่โครงการถูกทำสัญญากับลูกค้าไปแล้ว เราจำเป็นต้องทำงานตามมูลค่าสัญญาเดิม แม้ราคาเหล็กจะเพิ่มขึ้นก็ตาม เพราะจากการสำรวจพบว่าลูกค้า (Owner) ทุกรายทราบถึงราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลให้ลูกค้ายอมปรับราคาเหล็กเพิ่มขึ้นให้ตามจริง หรือตัดเรื่องการซื้อเหล็กให้ลูกค้าซื้อเองได้เลย นอกจากนี้ยังสามารถต่อรองขอเงินเบิกล่วงหน้า (Advance) เพิ่มนำมาซื้อเหล็กสต๊อกไว้เพื่อลดความเสี่ยงของราคาที่อาจเพิ่มขึ้น แต่หากวิธีนี้ยังไม่ได้ผล เรายังมีข้อถัดไปที่ช่วยคุณได้

*ในส่วนของงานราชการ ภาครัฐมีค่าตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน (ค่า K) อยู่ที่บวก-ลบ 4% จากราคาประมูลงาน จึงจะจ่ายชดเชยให้

**อัปเดต คุณลิซ่า งามตระกูลพานิช สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ (TCA) ผลักดันให้ยกเลิกค่า K บวก-ลบ 4% เป็นการชั่วคราว เนื่องจากความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง โดยให้ภาครัฐคิดราคากลางให้สะท้อนกับราคาปัจจุบัน และประเมินราคากลางใหม่ก่อนการประกวดราคา (Bidding)  ล่าสุดในวันที่ 25 พฤษภาคม กรมบัญชีกลางพร้อมที่จะรื้อราคากลางเพื่อช่วยผู้รับเหมาแล้ว

อ้างอิง https://tca.or.th/construction-news-detail.php?id=230

 

ราคาเหล็ก

 

2. เทคนิคการซื้อเหล็ก

หากผู้รับเหมาท่านไหนมีกระแสเงินสดที่สูง ทางเราแนะนำให้ท่านสต๊อกเหล็กตุนไว้ให้เร็วที่สุด หลังจากที่เริ่มทำสัญญากับทางลูกค้า ยิ่งคุณซื้อจำนวนมากจนใกล้เคียงกับจำนวนที่ต้องใช้ทั้งโครงการเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยลดความเสี่ยงในความผันผวนของราคาเหล็กยิ่งเท่านั้น แต่หากคุณมีเงินสดเหลือ เราก็แนะนำให้สต๊อกเหล็กเผื่อไว้ในจำนวนที่เหมาะสม เพราะข่าวจากหลายแหล่งยังคาดการณ์ว่าราคาเหล็กมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่เรื่อยๆตลอดปี 2564

*อัพเดทล่าสุดราคาเหล็กส่งออกจากประเทศจีน เริ่มมีการปรับราคาลงเล็กน้อย นับว่าเป็นข่าวดีของพี่ๆผู้รับเหมา แต่ก็ฝากประโยคสุดท้ายว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล  ก่อนตัดสินใจลงทุน”

3. การบริหารจัดการ (Management)

หากทำตามวิธีข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล เราแนะนำให้คุณกลับมาโฟกัสกับการบริหารจัดการภายในบริษัท เริ่มตั้งแต่การควบคุมงานหน้างานให้การทำงานคุณภาพ ลดความผิดพลาดที่จะเกิด เพื่อลดต้นทุนทางอ้อมที่อาจเกิดจากงานแก้ งานซ่อมของหน้างาน ในส่วนของงานจัดซื้อเองก็สามารถใช้การค้นหาข้อมูล และเปรียบเทียบราคา (Sourcing) พร้อมกับการอัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ โดยปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อเหล็ก BUILK แนะนำให้ประเมินจาก 3 ปัจจัยได้แก่ เหล็กต้องได้คุณภาพตามมาตรฐาน, ราคา และ เครดิต นอกจากนี้การเลือกใช้เหล็ก CUT & BEND ก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ช่วยลดต้นทุนได้จากการลดค่าแรงที่ไม่ต้องมาดัดเอง รวมถึงลดปัญหาการเกิดเศษเหล็กอีกด้วย

สิ่งสุดท้ายที่เราอยากฝากไว้ก็คือการควบคุมต้นทุนของโครงการ ซึ่งเป็นรากฐานของการทำงานรับเหมาก่อสร้าง สอดคล้องกับจุดประสงค์ของ BUILK โปรแกรมควบคุมต้นทุนออนไลน์ ฟรี สำหรับผู้รับเหมา SMEสุดท้ายนี้ขอฝากวลีที่มีคนกล่าวไว้ว่า

 

“บริษัทรับเหมาเติบโตและอยู่รอดได้ด้วยกำไร มิใช่ รายได้”

 

 

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการก่อสร้างเพิ่ม สามารถ Add LINE OA ของเราเอาไว้ได้เลยที่

ซอฟต์แวร์ฟรี-addfriend

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X