สรรพากรยุค 4.0 กับ ระบบ RBA (Risk Based Audit System) 

ในการทำธุรกิจสิ่งที่ผู้ประกอบการกลัวที่สุดคือ การมาเยือนของเจ้าหน้าที่สรรพากร เพราะมองว่าภาษีเป็นค่าใช้จ่าย จึงอยากจ่ายน้อยๆ หรือบางคนก็กลัวจะโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ซึ่งเดิมผู้ประกอบการต้องลุ้นตัวโก่งว่าสรรพากรจะเข้ามาตรวจสอบธุรกิจเมื่อไหร่? และจะโดนอะไรบ้าง? แต่สรรพากรยุค 4.0 มีการพัฒนาระบบตรวจสอบขึ้นมาใหม่ โดยนำข้อมูล IT มาใช้ในการวิเคราะห์ภาษีของแต่ละธุรกิจ ซึ่งระบบนี้เรียกว่า RBA (Risk Based Audit System) เป็นระบบที่มุ่งเน้นการจัดเก็บภาษีหรือตรวจสอบภาษีที่มีความโปร่งใส เพราะใช้ระบบในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากข้อมูลทั้งภายในและภายนอกกรมสรรพากร โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. ข้อมูลการยื่นภาษีของบริษัทผ่านระบบสรรพากร ได้แก่ ภงด.50 ภ.พ.30 ภงด.3 ภงด.53 ภงด.1 ภงด.2
  2. ข้อมูลของบริษัทที่มีในบันทึกของหน่วยงานภายนอก เช่น ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต การไฟฟ้า การประปา ข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรม
  3. ข้อมูลของบริษัทจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังไปในอดีต 3-5 ปี
  4. ข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดเก็บภาษี

หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ ของแต่ละบริษัทแล้ว เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะมี 4 มาตรการในการเข้าไปตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการ ซึ่งมาตรการจะค่อยๆ เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ เริ่มต้นจาก

  1. แนะนำด้านการตรวจสอบภาษีอากรเป็นมาตรการที่เบาที่สุด มีวัตถุประสงค์ในการแนะนำให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ประกอบการทำบัญชีให้ถูกต้องและสรรพากรก็จะคอยติดตามว่าผู้ประกอบการรายนั้นให้ความร่วมมือหรือไม่ ถ้าหากไม่ให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ก็จะเปลี่ยนเป็นวิธีที่รุนแรงขึ้น
  2. วิเคราะห์และตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษีเป็นมาตรการที่เพิ่มความเข้มข้นขึ้นมาอีกระดับ โดยหากเจ้าหน้าที่พบว่ามีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่ไม่ถูกต้อง ก็จะถูกตรวจสอบและวิเคราะห์ตามขั้นตอน
  3. การตรวจปฏิบัติการมาตรการนี้เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบที่กิจการอย่างเข้มข้น เช่น เข้าไปขอตรวจนับสินค้าคงเหลือ ว่ามีปริมาณตรงกับตัวเลขที่แสดงในบัญชีหรือไม่ ถ้านับของจริงแล้วมีน้อยกว่าในบัญชี ถือว่ามีการขายแต่ไม่ได้ลงบัญชี จะต้องเสียภาษีและเบี้ยปรับย้อนหลังกันเลยทีเดียว
  4. ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรมาตรการนี้อยู่ในระดับขั้นรุนแรง ใช้ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือหรือผู้ประกอบการยังไม่ยอมปฏิบัติให้ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง

 

มาตรการที่เจ้าหน้าที่เลือกใช้นั้นไม่จำเป็นต้องเริ่มที่สเต็บแรกเสมอไป แต่จะพิจารณาตามข้อมูลธุรกิจที่วิเคราะห์ได้ ซึ่งหากพิจารณาแล้วพบว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีข้อมูลการจ่ายภาษีที่น่าสงสัย ก็อาจใช้มาตรการที่รุนแรงได้ ผู้ประกอบการคงเห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะอย่างไรเราก็หลบเลี่ยงสรรพากรไม่ได้ ดังนั้นการทำบัญชีชุดเดียวและเสียภาษีอย่างถูกต้องโดยอาศัยการวางแผนภาษี จะช่วยให้บริหารจัดการธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยประหยัดภาษีอีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เรารู้สึกปลอดภัย หลับสบาย คลายกังวล และพร้อมอ้าแขนรับการมาเยือนของสรรพากรอย่างภาคภูมิ

 

ติดตามบทความทางการเงินอื่นๆได้ที่ https://goo.gl/GtnJ1V

Leave a Reply

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X