สีของสายไฟที่เปลี่ยนไป

สายไฟ คือ วัสดุหลักในการนำพาหลังงานไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ ไปจนถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ สายไฟจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนโลกอุตสาหกรรมในโลกใบนี้

มาตรฐาน มอก. ที่มีวงกลม กับ ไม่มีวงกลม แตกต่างกันอย่างไร?

เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป (จะไม่มีวงกลม)
เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. กำหนดมาตรฐาน ของผลิตภัณฑ์นั้นไว้แล้วซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลัก ประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่า และเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ภาคสมัครใจ


เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ (จะมีวงกลม)
เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและ สังคม โดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไป ตามมาตรฐานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้น ได้ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ สายไฟฟ้า บัลลาสต์ ผงซักฟอก ท่อพีวีซี ผลิตภัณฑ์ เหล็ก ถังดับเพลิง ของเล่นเด็ก หมวกกันน๊อค เป็นต้น

ภาคบังคับ

มาตรฐานสายไฟฟ้าเปลี่ยนไป ผู้รับเหมารู้หรือยัง ?

มาตรฐานสายไฟที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนเฉพาะ มอก.11 เท่านั้น

สายไฟ มอก. 11 เป็นสายไฟที่มีตัวนำเป็นทองแดง และฉนวนเป็นพีวีซี แรงดันต่ำ (แรงดันตั้งแต่ 450-750 โวลต์)
ดังนั้นสายไฟที่ไม่ได้มีตัวนำเป็นเป็นทองแดง และไม่มีได้มีฉนวนเป็นพีวีซี จะไม่จัดอยู่ใน มอก.11 และก็ยังคงใช้มาตรฐานตามเดิม

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐานสายไฟ มอก.11-2553 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว กับมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของ วสท.2556

การเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เปลี่ยนมาตรฐานเป็น มอก11-2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดันและชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย เมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเปลี่ยน ตาม มอก.11-2553 นั้น แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภท XLPE นั้นผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ เพราะเห็นว่าจะทำให้มีสีไปในทางเดี่ยวกัน ในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) ซึ่งเป็น สถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม ซึ่งรวมถึงมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยด้วย ซึ่งมาตรฐานนี้ไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับใช้ แต่หลายๆองค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA ,PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่ใน กฎหมายบ้างมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคาร ก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้ ดังนั้นเมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุง ทางคณะกรรมการ ของ วสท. จึงถือโอกาสนี้ปรับปรุงมาตรฐานใหม่ให้มีมาตรฐานตรงกับมาตรฐานสายไฟใหม่และปรับปรุงเกี่ยวกับการหาขนาดกระแสของสายไฟ ร่วมถึงสายที่ใช้ในวงจรช่วยชีวิต และรายละเอียดปลีกย่อยต่างเพิ่มเติม ร่วมไปในครั้งนี้ด้วย เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยในการติดตั้งและการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก นั้นจึงเป็นที่มาของการปรับปรุง มาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556

ทำไมต้องเปลี่ยนสีของสายไฟ ?

เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สร้างความเข้าใจที่ง่ายมากขึ้น เมื่อมีโอกาสซ่อมบำรุงหรือปรับปรุงอาคาร

สีของสายไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป

มาตรฐานฉบับใหม่กำหนดให้ สายดินเป็นสีเขียวแถบเหลือง สายนิวทรัลเป็นสีฟ้า สำหรับสายเส้นไฟจะใช้สีน้ำตาล สีดำ และสีเทา ตามลำดับ สรุปดังนี้

  • สายแกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี
  • สาย 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล
  • สาย 3 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล หรือ น้ำตาล ดำ เทา
  • สาย 4 แกน สีเขียวแถบเหลือง น้ำตาล ดำ เทา หรือ ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา
  • สาย 5 แกน สีเขียวแถบเหลือง ฟ้า น้ำตาล ดำ เทา

1 เฟส – น้ำตาล (L) , ฟ้า ( N), เขียวแทบเหลือง (G)

3 เฟส – น้ำตาล () , ดำ (), เทา (), ฟ้า ( N), เขียวแทบเหลือง (G)

แรงดันไฟฟ้าในมาตรฐานใหม่เปลี่ยนไป

สายไฟฟ้าตามมาตรฐานใหม่กำหนดแรงดันไฟฟ้าใช้งานเป็นค่า ไว้ไม่เกิน 450/750 โวลต์

แรงดัน หมายถึงแรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดิน เป็นค่ารากของกำลังสองเฉลี่ย ( )

และ U หมายถึงแรงดันไฟฟ้าระหว่างตัวนำ เป็นค่ารากของกำลังสองเฉลี่ยเช่นกัน

อุณหภูมิของสายก็มีเปลี่ยนแปลงสายไฟฟ้าตามมาตรฐานเดิมกำหนด อุณหภูมิใช้งานไว้ที่ 70 ํC ค่าเดียว แต่สายตามมาตรฐานใหม่นี้กำ หนดอุณหภูมิใช้งานของสายไว้สองค่าคือ 70 ํC และ 90 ํC ชนิดของฉนวนยังคงเป็นพีวีซี

ฉนวนของสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก.11-2553 เป็นพอลิไวนิลคลอไรด์ทั้งชนิดที่มีอุณหภูมิใช้งาน 70 ํC และ 90 ํC แต่ในรายละเอียดของฉนวนจะต่างกัน ฉนวนแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

  • PVC/C สำหรับสายไฟฟ้าใช้งานติดตั้งถาวร
  • PVC/D สำหรับสายไฟฟ้าอ่อน (flexible cable)
  • PVC/E สำหรับสายทนความร้อนที่ใช้ ภายในอาคาร

บริษัท THAI YAZAKI เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสายไฟคุณภาพ

เจ้าแรกที่มีการผลิตสายไฟให้ไปเป็นตามมาตรฐานสายไฟใหม่ ปัจจุบันมีกำลังผลิตประมาณ 20,000 ตันต่อปี ความยาวเฉลี่ย 160,000 กม.ต่อปี ระยะความยาวของสายไฟที่ผลิตได้จากโรงงานของสายไฟฟ้าไทยยาซากิ ใน 1 ปี มีความวิ่งไป-กลับรอบโลกได้ 4 รอบต่อปี

บริษัท ศ.ศุภกิจวานิชการไฟฟ้า จำกัด

ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย สายไฟ และอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่ใช้กับกระแสไฟฟ้า และ สายไฟ แรงสูงต่างๆ บริษัทของเราประกอบด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเทคนิคและการขาย  พร้อมให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือคุณในการเลือกซื้อ ขอราคา สายไฟ THAI YAZAKI คลิกเลย 

ขอขอบคุณความรู้ดี ๆ จากแฟนเพจ ห้องไฟฟ้า (Electrical Room) ครับ ที่ได้ให้โอกาสแบ่งปันความรู้ให้กับพวกเราในครั้งนี้

หากข้อมูลนี้ พอเป็นประโยชน์ รบกวนช่วยกันแชร์ให้เพื่อนๆ ในวงการก่อสร้างด้วยครับ… พบกับการความรู้ดี ๆ สำหรับคนในวงการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจก่อสร้าง รู้ทันทุกความเคลื่อนไหวเรื่องต้นทุน อย่าลืมติดตาม BUILK ในช่องทางต่างๆ ไว้ด้วยนะครับ

 

 

Leave a Reply

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X