อนาคตของกรุงเทพ ฯ (Better Bangkok)

อนาคตของกรุงเทพ ฯ จะดีขึ้นได้อย่างไร?

เมืองที่ดีขึ้นสำหรับ อนาคตของกรุงเทพ ฯ (Better Bangkok) คือ เมืองที่ยั่งยืน (Sustainable) และต้องไม่สร้างภาระให้คนรุ่นหลัง หากกรุงเทพมหานคร จะดีขึ้น ก็ไม่ใช่ดีเป็นจุดๆ เป็นกลุ่มๆ แต่มันต้องดีขึ้นโดยรวมทั้งหมด ต้องครอบคลุม ต้องดีขึ้นไปด้วยกัน และที่สำคัญต้องยุติธรรม

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นต่ำ แต่มีความแออัดสูง คนยังก็กระจุกอยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ เพราะการคมนาคมมันยังไม่ดี ระบบเส้นเลือดใหญ่เราดี มีทั้งทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดินมากมาย แต่คนก็ยังต่อคิวกันขึ้นวิน ต้องพัฒนาที่เส้นเลือดฝอยบ้าง และเชื่อว่ามันเป็นไปได้ ทุกคนต้องช่วยกัน

การจะบอกได้ว่าเมืองดีขึ้นรึยัง ต้องหาตัววัดให้ได้ก่อน นอกจากถามหาความยั่งยืน เราต้องมองว่ามันครอบคลุมแล้วหรือยัง และยุติธรรมกับทุกฝ่ายแล้วหรือไม่

ในอนาคตไทยจะเข้าสู่สังคมคนแก่ เราต้องแบกรับคนอายุมากอีกเยอะ เราเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง ซึ่งมันมีโจทย์ที่ซับซ้อนอยู่มากมายที่ทำให้เรามองปัญหาจากมุมเดียวไม่ได้

ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลผู้สูงอายุจอมเทียน ติดทะเลจอมเทียน ไม่มีกระทั่งรถเมล์จะเข้าถึง ถ้าถามว่าทำไมไปสร้างตรงนั้น ก็เพราะว่ามีคนบริจาคให้ เหมือนเราเสียดายน้ำจิ้ม เลยไปซื้อเป็ดย่างสามพันล้านมากินกับน้ำจิ้ม

การพัฒนาเมืองจึงเริ่มที่คน เพราะบางอย่างต้องเริ่มที่ตัวเราด้วย อย่าหวังให้รัฐบาลลงมาช่วยในทุกเรื่อง เพราะฉะนั้น “better Bangkok” ต้องเกิดจากเราทุกคนมีวินัยร่วมกัน เราควรมอบความรู้ให้ แล้วกระตุ้นด้วยอารมณ์ขัน บางอย่างก็ไม่ต้องใช้กฎหมายบังคับ

Q/A ช่วงถามตอบ

Q: การที่มีแอร์พอตลิงค์ ทำให้ อนาคตของกรุงเทพ ฯ ดีขึ้นไหม (Better Bangkok) ?
A: แน่นอนดีขึ้นสำหรับบางคน ไม่ใช่ทุกคน ความดีมันไม่ได้ดีเฉพาะจุด คำว่าดีขึ้นต้องดีขึ้นในภาพใหญ่ ทำรถไฟให้ดี รถยนต์ รถมอไซต์ ก็ต้องดีด้วย

Q: ปัญหารถติดจะแก้อย่างไร ?
A: ทำรถเมล์ให้ดี เพราะเป็นตัวที่ช่วยเส้นเลือดฝอย และควบคุมรถยนต์ แต่ก่อนอื่นก็ต้องปรับปรุงขนส่งสาธนะก่อน

Q: ข่าวว่าอนาคตกรุงเทพมหานคร จะจมน้ำ เป็นไปได้ไหมที่จะทำให้ กรุงเทพฯ ไม่จมน้ำ?
A: ถ้าตามสถิติ อัตราการใช้น้ำบาดาลลดลง การทรุดตัวลดลง และระดับน้ำที่สูงขึ้นในอัตราไม่เยอะ อย่าพึ่งตระหนกเกินไป ต้องวางแผนระยะไกลสำหรับกรุงเทพฯ ยกถนนโดยรอบ ทำประตูกั้นน้ำในจุดตัดที่น้ำไหลผ่าน

Q: มีวิธีควบคุมแผงลอยอย่างไร?
A: จัดระเบียบ และบทลงโทษอย่างเป็นธรรม เพราะหลายคนอาศัยตรงนี้ในการทำมาหากิน หาพื้นที่ให้พวกเขาอยู่ และอาศัยความร่วมมือจากเอกชน เพราะมีพื้นที่มาก ทุกคนต้องจดทะเบียนให้ถูกต้อง

Q: เรื่องขนส่งสาธารณะ รถเมล์กระจุกอยู่ที่ไฟแดงนานเกินไป คิดว่ามีแนวทางในการบริหารยังไง?
A: ใช้โมเดลเกาหลี รัฐบาลไม่ได้เป็นเจ้าของรถเมล์ รัฐจ้างเอกชนวิ่ง แต่เป็นคนเก็บเงิน แล้วดูคุณภาพ จ่ายตามกิโลเมตรที่วิ่ง ข้อดี คือ รัฐช่วยรับภาระค่าใช้จ่าย สามารถแก้ปัญหาเรื่องรถเมล์ เพราะวิ่งแข่งกันเนื่องจากรับผิดชอบของใครของมัน เลยทำให้ไมเป็นระเบียบ ใช้ข้อด้านบนแก้ได้

Q: มีนโยบายควบคุมราคารถไฟฟ้าไหม? เพราะสูงมาก หากเทียบกับการเดินทาง 2-3 คนเพราะใช้รถยนต์ยังถูกกว่า
A: ใช้ Single Owner

จบแล้วสำหรับบทความ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่กำลังหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และการร่วมกันทำให้ อนาคตของกรุงเทพ ฯ  เป็นเมืองที่ดีขึ้น นอกจากนี้ทางทีมงาน BUILK ก็ต้องขอขอบคุณ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) ที่สละเวลามาแชร์ความรู้ดีๆ ให้กับผู้ร่วมงานรักเหมาfest ในปี 2019 นี้ด้วยครับ

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X