จากวิศวกร เติบโตสู่ ผู้บริหารธุรกิจก่อสร้าง ขอนแก่นยูนิตี้คอนสตรัคชั่น

เมื่อทำงานในตำแหน่งวิศวกรมาสักพัก หลายคนอาจคิดอยากจะแยกตัวออกไปตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตัวเอง

คุณเป็นวิศวกรคนนั้นหรือเปล่า?

Construction Untied ครั้งนี้เรานั่งคุยกับ คุณสันติ ทองกำแหง ผู้บริหารธุรกิจก่อสร้าง บจก. ขอนแก่น ยูนิตี้ คอนสตรัคชั่น และ บจก. ขอนคอนกรีต ก่อนหน้านี้ คุณสันติ ทำงานตำแหน่งวิศวกรอยู่ที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเก่าแก่ในจังหวัดขอนแก่น พอปี พ.ศ.2544 คุณสันติและพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งก็ร่วมกันลงทุนก่อตั้งขอนแก่นยูนิตี้ฯ ขึ้นมา

 

ขอนแก่นยูนิตี้

 

ทำไมถึงแยกตัวออกมา.

เห็นโอกาส ขอนแก่นยูนิตี้รับงานคนละตลาด คนละลักษณะงานกับบริษัทเดิม แต่งานหลังบ้าน งานออฟฟิส ยังใช้รวมกันอยู่ได้ ที่มั่นใจว่าตัวเองสามารถทำได้เพราะตอนเป็นวิศวกรได้ลงมือทดลองทำจริงอยู่นาน รับงานมาก็ต้องรับผิดชอบเองตั้งแต่ต้นจนจบ จัดการหน้างาน จัดซื้อ หรือ ร้านค้า เราก็รู้จักดีแล้ว ช่วงอยู่บริษัทเดิม น้าที่เป็นเจ้าของบริษัทและกลุ่มรองผู้จัดการที่เป็นหุ้นส่วนก็จะคอยสอนงานให้ด้วย

 

จากวิศวกรสู่ ผู้บริหารธุรกิจก่อสร้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมมาบ้าง.

เปิดบริษัทมาก็ได้จับเรื่องคิดราคา เรื่องวางแผนหน้างาน การบริหารด้านภาษี ทุกอย่าง อาจจะมีเรื่องภาษีที่เราอาจจะไม่ได้ลงลึก มีพี่สาวช่วยดู เรื่องที่ยากที่สุดเป็นเรื่องพาองค์กรให้อยู่รอด ธูรกิจก่อสร้างแข่งขันกันสูง คู่แข่งที่เติบโต เปิดใหม่ก็เยอะ รายย่อยผันไปเป็นผู้รับเหมาหลักก็เยอะ งานก็หายาก

 

ใช้หลักการอะไรบริหารให้ธุรกิจก่อสร้างให้อยู่รอด.

ก็ต้องเน้นบริหารโครงการให้มีกำไร งานมีคุณภาพ เสร็จตามกำหนด ผมสื่อสารให้ทีมงานให้เข้าใจตรงกันว่างานที่เราจะทำนี้มีวัตถุประสงค์หลักคืออะไร อย่างงานราชการต้องเน้นเรื่องระยะเวลาเป็นหลัก เน้นเวลาก่อน ไม่อยากให้โดนปรับ ส่วนผลกำไรอาจจะไม่เน้นมาก แค่ขอให้มี คุณภาพอาจขอให้ตามมาจากเวลา เพราะถ้าเร่งเรื่องเวลา คุณภาพ ก็อาจจะด้อยลง แต่ถ้าเป็นงานบ้านก็เอาคุณภาพเป็นตัวนำ 

 

มีความรู้เรื่องการบริหารแบบนี้ได้ยังไง.

ผมก็อาศัยว่าไปเรียนหลักสูตรเรื่องของผู้บริหารตามที่เค้ามีเปิด ก็ได้คอนเซปว่าเราจะควบคุมเรื่องของต้นทุน เวลา คุณภาพ

 

ใช้ระบบบริหารต้นทุนมาตลอด.

ระบบมันช่วยให้ข้อมูลตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริหารได้ค่อนข้างเยอะ อย่างเช่น เราอยากจะดูต้นทุน งานลดงานเพิ่ม หรือว่า การเจรจาต่อรอง ถ้าเรามีตัวเลขอยู่ในมือจะทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

 

ยกตัวอย่างการใช้ตัวเลขจากระบบหน่อย.

อย่างสิ้นเดือนเราก็ดูค่าใช้จ่ายว่าเข้าใกล้งบประมาณหรือยัง งบเหลือเท่าไหร่ งานเรายังไม่ทำอะไรบ้าง 1-2-3-4-5 เทียบกับงบประมาณที่เหลือ มันพอกันมั้ย อย่างน้อยมันก็กระตุ้นนิดนึง ถ้ามันสูสีก็ต้องระวังละ ถ้าใช้เกินก็ต้องกลับไปดูว่ามาจากอะไร มาจาก BOQ ที่เราคำนวนผิดรึเปล่า หรือว่าราคาวัสดุที่ใส่ไว้มันเอาไม่อยู่ หรือว่ามันเกินมาจากค่าแรง

ตอนสรุปโครงการก็มาดูกำไรขาดทุนอะไรหมวดไหนเท่าไหร่ แต่ละอย่างมีสาเหตุจากอะไร ถ้าขาดทุนเนี่ย มันพลาดมาจากไหน พลาดมาจากปริมาณหรือราคาวัสดุ กำไรได้มายังไง เพราะเราคิดราคาแพงมันเลยได้กำไรหรือเปล่า งานหน้าจะได้ปรับแก้ มันเหมือนเป็นการ Recheck ตัวเอง

 

เห็นว่าก่อนหน้านี้ใช้พจมาน (โปรแกรมบัญชีและERPก่อสร้าง). 

ก่อนหน้านี้บริษัทเดิมที่เคยทำงานอยู่ เคยจ้างคนนอกมาออกแบบระบบให้ ใช้ Microsoft Access เพื่อที่จะได้รายงานแยกข้อมูลแต่ไซต์งานออกมา กว่าจะได้เห็นหน้าตารายงานต้องรอซักเดือนนึง แล้วรายงานที่ได้ก็จัดกลุ่มหมวดตามบัญชี คราวนี้มันไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของวิศวกร เพราะวิศวกรต้องเอาต้นทุนที่ใช้ไปกระทบกับงบประมาณ หักลบกันแล้วเหลือเท่าไหร่ ทีนี้พอได้รายงานที่จัดกลุ่มตามหลักบัญชีการเงินตัวนัั้นมา ผมเองก็ต้องเป็นคนจับเอาข้อมูลตรงนั้นไปชนกับงบประมาณ ซึ่งมันก็ใช้เวลา

มาเจอว่าพจมานเป็นโปรแกรมระบบของบัญชีธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะเลยให้ ลองกองสตูดิโอ มาเซตระบบให้กับที่บริษัทเดิมร่วมกับ ขอนแก่นยูนิตี้ฯ ลองใช้อยู่เป็นปีคู่กับระบบเดิมที่เป็น Microsoft Access

อ่านเพิ่มเติม บัญชีบริหารธุรกิจก่อสร้างสำหรับ SMEs

 

ใช้พจมานกับระบบเดิมไปพร้อมกัน.

ตอนน้้นใช้คู่กันสองระบบ เพราะคิดว่ายังรันไม่เต็มร้อยเลยทำคู่กันไปก่อน ในเวลาใช้ระบบเดิม นอกเวลางานค่อยบันทึกในระบบพจมาน เหมือนทำงานเอกสารสองเท่า

 

ทำไมตัดสินใจหยุดใช้พจมาน.

ระบบพจมานมีรายละเอียดมากเกินไป อย่างรายการวัสดุที่ต้องเพิ่มรายการวัสดุทุกอย่างเข้าไปในโปรแกรม มันเยอะมาก ผมลงทุนจ้างน้องๆ ฝึกงานมาคีย์วัสดุ แค่นอตอย่างเดียวก็เยอะ แล้วก็เหล็กเยอะไปหมด มันไม่จบ และเรื่องรายงานที่ยังไม่ค่อยตรงกับทีต้องการ หลังๆ พอเปลี่ยนพนักงาน มันก็ต้องมาเทรนใหม่ ค่อนข้างจะใช้เวลา เพราะระบบซับซ้อน

ตรงนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะหยุดหรือไปต่อ อย่างที่บอกคือเราทำ Access คู่กันไปด้วย พอผลออกมาไม่ตรงตามต้องการ เลยคุยกันว่ากลับไปใช้วิธีเดิม ช่วงหลัง พอหุ้นส่วนแยกย้ายกันไป งานก็ลดลงด้วย ผมเลยกลับมาใช้เป็น Excel คีย์บันทึกค่าใช้จ่ายธรรมดา ซื้ออะไรไปก็คีย์

 

ตอนนี้ก็มาใช้ระบบควบคุมต้นทุนบิลค์แล้ว.

คือคอนเซปของบิลค์ มันตรงกับที่ผมและ ผู้บริหารธุรกิจก่อสร้าง SMEs ต้องการ คือเราไม่มีเวลามานั่งดูอะไรบ่อยๆ ทุกๆ วัน ถ้าเราจ่ายเงินอะไรไป แล้วเห็นยอดเลยว่าไปตัดงบประมาณรายการไหน โครงการไหน มันก็เร็ว ค่อนข้างสะดวก ถ้าเป็น Excel เนี่ย มันต้องกลับมาแจกแจงแยกอะไรอีกที มารวม มาอะไร แบบนี้ ก็ใช้เวลาสรุปรายงาน ถ้าเป็นบิลค์มันก็ช่วยร่นระยะเวลาได้พอสมควร

 

ดูเหมือนคุณสันติให้ความสำคัญกับเวลา.

มันก็หลายหน้าที่ มีเวลาค่อนข้างจำกัด ทั้งเรื่องของงาน มีจัดซื้อด้วย แล้วก็วิ่งดูงานอีก อะไรที่ช่วยให้เราประหยัดเวลาได้ก็ควรจะทำ

 

สัมภาษณ์เมื่อ วันที่  1 สิงหาคม  2559

 

การนำพาองค์กรให้อยู่รอด ดูเหมือนจะเป็นความรับผิดชอบที่เพิ่มเติมมาของคุณสันติจาก ขอนแก่นยูนิตี้คอนสตรัคชั่น ที่เติบโตจากวิศวกรกลายเป็น ผู้บริหารธุรกิจก่อสร้าง ในกรณีนี้คุณสันติใช้ ทฤษฎีบริหารโครงการก่อสร้างสามเหลี่ยม TCQ เป็นหลัก ประกอบกับการประหยัดเวลาด้วยการใช้ระบบบริหารต้นทุน

แล้วคุณล่ะ มีหลักการนำองค์กรให้อยู่รอดหรือยัง?

 


 บิลค์ทีมเกี่ยวกับ บิลค์ทีม

บิลค์ทีม เป็นทีมงานทุกคนในบิลค์ เราอยากสร้าง สังคมผู้รับเหมาคุณภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วยธุรกิจรับเหมาก่อสร้างลดต้นทุน ประหยัดเวลา ด้วยการสร้าง โปรแกรมควบคุมต้นทุน ให้ผู้รับเหมาใช้ฟรี นอกจากโปรแกรมแล้ว เราก็ทำอะไรอย่างอื่นที่เราพอจะคิดออกไปเรื่อยๆ..เพื่อให้ผู้รับเหมามีชีวิตที่ดีขึ้น

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X