รักเหมาFest ปี 2019 เริ่มต้นที่ “เชียงใหม่”

รักเหมาFest

ต้องขอท้าวความก่อนว่า “รักเหมาFest” คืออะไร งานรักเหมาFest เป็นงานที่รวบรวมคนในวงการก่อสร้าง ทั้งผู้รับเหมา ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย แบรนด์วัสดุก่อสร้าง สถาปนิก ดีไซน์เนอร์ มาอัพเดตเทรนด์ ความรู้ พูดคุยกับคนในอุตสาหกรรมเดียวกัน นี่ไม่ใช่งานสถาปนิก หรือบ้านและสวน งานนี้จัดมาเพื่อคนในสายงานก่อสร้าง จัดแค่ปีละครั้งเท่านั้น โดยก่อนหน้านี้ใช้ชื่องานว่า Construction United จัดแบบกันเอง แค่ที่กรุงเทพฯ พอผ่านไป Community เราก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็ขยายสถานที่ไปจัดที่แอร์พอร์ตลิงค์ มักกะสัน โดยใช้ชื่องานว่า “รักเหมาFest”

แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้มีแค่กรุงเทพฯ หรือแค่ภาคกลางเท่านั้น เรายังมีอีก 77 จังหวัด ที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจ และมีการก่อสร้างเช่นเดียวกัน ปีนี้ 2019 เราจึงไปจัดงานนี้ที่ต่างจังหวัดด้วย โดยประเดิมจังหวัดแรกที่ “เชียงใหม่”

 

#รักเหมาFestเชียงใหม่

“รักเหมาFest เชียงใหม่” ถูกจัดขึ้นที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ เชียงใหม่ (Northern Science Park) วันที่ 4-5 ตุลามคม 2562 มีทั้งหมด 10 Session จากวิทยากรทั้งสิ้น 16 คน เนื้อหาของแต่ละ Session ก็จะแตกต่างกันออกไป ให้ครอบคลุมทุกเรื่องราวในวงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตย์ เรื่องงานดีไซน์ เรื่องการ Transform ของร้านค้าวัสดุฯ การวางผังเมือง และนวัตกรรมใหม่อนาคตของการก่อสร้าง

 

#Day1

Session 1 : BIM for Sustainable Construction

โดย คุณปรเมษฐ์ ทันวงษ์

ผู้อำนวยการงานพัฒนาระบบงานและ
ระบบการบริหารโครงการ
บริษัท Magnolia Quality Development
Corporation Limited

 

คุณปรเมษฐ์ ทันวงษ์ ได้มาเล่าเรื่อง BIM ที่ใช้ในงานก่อสร้างยุคปัจจุบันจากประสบการณ์จริงและผลลัพท์ที่ MQDC ได้ประยุกต์ BIM นำมาใช้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์หลายส่วน ทั้งในด้านการสื่อสารที่ชัดเจนขึ้น การทำงานที่ถูกต้องมากขึ้น ลดปัญหาการแก้งาน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นการใช้ BIM เป็นเครื่องมือในการทำ clash detection ช่วยหาจุดปัญหา/จุดขัดแย้ง ในระหว่างการทำงาน โดยนำไฟล์ของแต่ละฝ่ายที่อยู่ในคลาวด์ มาประชุมกัน โดยเล่าว่า ปัญหาต่างๆ ถ้าเจอปัญหาก่อน ไม่ต้องไปแก้หน้างาน ประหยัดไปได้เยอะ ทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปคำนวนหาค่าแรงลม ทิศทางแดด วิเคราะห์ค่าต่างๆ ได้ทันที รวมไปถึงการทำ as-built drawing จาก BIM model ทันที และผสานกับการใช้กล้อง 360 มาช่วยในการตรวจสอบอีกต่อหนึ่ง สิ่งที่ได้เรียนรู้ อย่าเอา BIM มาใช้แค่ความสวยงาม แต่ให้เอาข้อมูลใน BIM มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน

Session 2 : ทิศทางการลงทุนอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่

โดย คุณปราชญ์ วงศ์วรรณ (นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ เชียงใหม่)
และ คุณอัญชนา วัลลิภากร (ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหาร
บริษัท บาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด)

 

Data สามารถบอกพฤติกรรมคนเชียงใหม่ได้ว่าต้องการที่อยู่แบบไหน สามารถวิเคราะห์ราคาและความต้องการ Supply + Demand ได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (proximity) จากข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลมาหลากหลายทั้ง structured และ unstructured รวมถึงการทำ deep listening จาก social media ต่างๆ เพราะคนไทยเรามีการพูดกล่าว อะไรต่างๆ ออนไลน์ค่อนข้างเยอะมาก

การเติบโตของเชียงใหม่ มีการลงทุนของชาวจีนเพิ่มขึ้นและเติบโตอย่างต่อเนื่อง จุดที่น่าสนใจเช่นบริเวณรอบโรงเรียนและสถานศึกษาอื่น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ข้อกำหนดต่างๆ เช่น ภาษีมรดก ที่เริ่มเข้ามามีผลกับการลงทุน หรือกฎหมายใหม่สำหรับคนที่วางแผนทำอพาร์ตเมนต์ที่เปลี่ยนไป ที่มีข้อบังคับมากยิ่งขึ้น รวมถึงเล่าเรื่องเทคนิคในการลงทุนแบบต่างๆ รวมถึงการวางแผนรับมือภาษีที่ดิน และสำหรับเชียงใหม่ยังมีอีกปัจจัยใหม่ที่จะมีบทบาทสำคัญคือ “รถไฟฟ้ารางเบา” ที่จะเกิดขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างสูง

Session 3 : การปรับปรุงผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่

โดย คุณชิดชัย อังคะไวมงคล

นักผังเมืองชำนาญการพิเศษ
จาก: สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง
จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้ที่วางแผนก่อสร้าง ต้องติดตามเรื่องผังเมือง รวมถึงการปรับปรุงผังเมืองที่เกิดขึ้น และหากคนไหนที่จะทำโรงงานต้องเช็คกฎหมายโรงงานอีกต่อหนึ่ง ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่ มีการปรับปรุงเพิ่ม โดยรอบนี้มีผังแสดงแผนที่โล่งเพิ่มขึ้นมา และผังสาธารณูปโภคการระบายน้ำ ส่วนผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ กำลังปรับปรุง และฟังความเห็นชุมชน โดยพิจารณาการขยายตัวของเมือง ขณะเดียวกันผังเฉพาะพื้นที่ ตัวอย่างเช่น สันกำแพง ดอยสะเก็ด สันป่าตอง และอีกหลายเมือง / ชุมชน ก็เริ่มมีผังแยกของตัวเอง

 

Session 4 : เตรียมความพร้อมรับมือกับเทคโนโลยีการก่อสร้างยุคใหม่

โดย ผศ.ดร.ฟองจันทร์ จิราสิต , อ.อัครพงษ์ เทพแก้ว , อ.ธนา น้อยเรือน , อ.ประดิษฐ์ เจียรกุลประเสริฐ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมโยธา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
จ.เชียงใหม่

Session นี้จะเล่าถึงเทคโนโลยีก่อสร้างยุคใหม่ ทั้งในด้าน 3D / BIM / laser scan / UAS / point cloud

อาจารย์ฟองจันทร์ เล่าถึงเป้าระยะยาวในการพัฒนานักศึกษา โดยวางแผนให้นักศึกษามีความรู้ความชำนาญคู่ขนานกับการเรียนในหลักสูตรวิศวกรรมโยธา

อาจารย์ประดิษฐ์ เล่าถึงเนื้อหาที่สามารถนำ UAS (unmanned aircraft system) มาใช้ทำแผนที่ วางแผนออกแบบการบิน การทำภาพภาพถ่ายทางอากาศ การสร้าง point cloud และทำภาพถ่าย ortho ออกมาได้ และยังสามารถนำข้อมูลมาคิดปริมาณงานดินได้อีกต่อหนึ่ง และยังเล่าถึงการสำรวจวัสดุกองเก็บ การสำรวจลำน้ำ การสำรวจต่างๆ ได้

อาจารย์อัครพงษ์เล่าถึงการเรียนการสอน BIM ในสาขาโยธา โดยการประยุกต์มาใช้ในการเรียน เช่น วิชา RC Design มีการนำการวิเคราะห์ในเชิง 3 มิติมาใช้งานเป็นต้น

อาจารย์ธนาเล่าถึง ข้อมูล point cloud กับการนำมาใช้ในงาน BIM ทั้งจากการนำข้อมูลทั้งจากกล้อง laser scanner และโดรน นำมาวิเคราะห์งาน การสร้างเส้นชั้นความสูง การซ้อนทับกับเครื่องมือสำรวจ และนำข้อมูลจาก point cloud มาใช้ร่วมกับข้อมูลอาคารจาก BIM ได้ และให้นักศึกษาสามารถนำข้อมูล point cloud ไปวิเคราะห์ต่อได้

 

Session 5 : ประสบการณ์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สู่ความยั่งยืน

โดย เนรมิต สร้างเอี่ยม

เจ้าของแนวคิด
คิดทุกเม็ด ครบทุกมุม คุ้มทุกเมตร
ที่ปรึกษา บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์
Founder โครงการบ้านบ้าน

การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สู่ความยั่งยืน เริ่มจากแนวคิดระบบการก่อสร้างเร็ว ทฤษฎีฉี่ แนวคิดลีน แผนเพิ่มคุณภาพและลดระยะเวลาทำงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ คุณภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน การวางแผนการลดระยะเวลาที่เสียไปโดยไม่ก่อให้เกิดงาน ยกตัวอย่างการเปรียบเทียบเวลาที่เสียไปจากการที่คนงานเข้าห้องน้ำที่ห่างออกไป การดูแลเอาใจใส่พนักงาน ด้านความเป็นอยู่ สวัสดิการก็เป็นความยั่งยืนอีกรูปแบบหนึ่ง และพูดการดูแลพื้นที่ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการกลับมาซื้อซ้ำ การสร้างความยั่งยืน ทั้งในฝั่งผู้ร่วมงาน ไม่ว่าผู้รับเหมาหรือคนงาน หรือในฝั่งลูกค้าที่อยู่กัน “ยาวนานไม่สิ้นสุด” การสร้างความ “ยืนยงอย่างมีคุณภาพ” โดยวิเคราะห์ระบบการทำงานที่สร้างคุณภาพที่ดีโดยไม่ต้องซ่อม และทำให้ไปสู่แนวคิดการรับประกันตลอดชีวิต ก่อนจบได้เล่าถึงแปลงผักที่สร้างความสัมพันธ์ของชุมชนที่เกิดขึ้นในคอนโดมีเนียมได้ และเป็นแนวคิดการออกแบบที่ “ยังดูดีเสมอ”

 


 

#Day2

Session 6 : Data analysis for Construction

โดย คุณพงศวัฒน์ กฤษณามระ

CPO – BUILK ONE Group

พูดถึงพื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำธุรกิจก่อสร้าง ตั้งแต่การวางแผนโครงสร้างข้อมูล การทำ Digital transform การเชื่อมโยงข้อมูล และการวิเคราะห์นำเสนอธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน เป็นธุรกิจที่ห่างไกลกับรูปแบบดิจิทัล มากๆ และเป็นอันดับท้ายๆ ของธุรกิจทั้งหมด การปรับแผนการเก็บข้อมูลตั้งแต่การทำ WBS / CBS / BOQ / credit term / การตรวจงานหน้าไซต์ ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลแบบดิจิทัล จะช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้องขึ้น ตรงตามสภาพหน้างานจริง และรวดเร็วทันเวลา ที่ BUILK การใช้งานปัจจุบันใช้ MS PowerBI ในการนำเสนอและวิเคราะห์ และในอนาคตการวิเคราะห์จะมีการผสมผสาน BIM / AI / machine learning เข้ามา ผสมผสานกับข้อมูลภายนอก เช่น เทรนด์อุตสาหกรรม หรือ ราคาวัสดุ จากหลากหลายแหล่ง “การวิเคราะห์ข้อมูลของ Builk เน้นการทำ win-win ของทุกคนในธุรกิจก่อสร้าง”

 

Session 7 : Future of Construction

โดย คุณไผท ผดุงถิ่น

CEO – BUILK ONE Group

งการก่อสร้างปัจจุบัน ล้าหลังมากในด้านดิจิทัล ถ้าเทียบกับวงการอุตสาหกรรมอื่น เราเหมือนกำลังวิ่งบนทางวิบาก ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่นวิ่งอยู่บนถนนไฮเวย์ วงการนี้ต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยกันพัฒนาเยอะพอสมควร เราเองก็ควรจะเปิดโอกาสและเปิดใจรับนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วย

จากข้อมูลของ KPMG กล่าวว่าอนาคตการใช้ AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิต และในอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ต้องวางแผนเตรียมความลับมือไว้ เครื่องจักรและ AI จะมามีบทบาทมาแทนที่คนในปี 2025 เช่น เครื่องจักรขับเอง การวางแผนอัตโนมัติ โดรนตรวจงาน อีกทั้ง 5G ที่จะมามีบทบาท ที่มีค่า latency ต่ำ เกิดการสร้างธุรกิจใหม่ๆ เช่น การควบคุมเครื่องจักรหนัก เปลี่ยนเป็นการควบคุมทางไกลแทนที่ควบคุมหน้าไซต์งาน

ยุคนี้ไม่ใช่ยุคของ “ปลาใหญ่ กินปลาเล็ก” หรือ “ปลาเร็วกินปลาช้า” ตอนนี้ ปลาที่ใหญ่และเร็วที่มีข้อมูลพร้อม จะมากินปลาเล็ก ปลาช้า และกินทุกอย่าง

 

Session 8 : CMU Smart City-Clean Energy ต้นแบบเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน

โดย ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน
นครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การดำเนินการของมหาวิทยาลัยในการทำ CMU Smart Campus ในช่วงสามปีที่ผ่านมาและแผนในอนาคต ศูนย์ SCMC บริหารจัดการข้อมูล รวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย และนำมาวิเคราะห์ต่อไป โดยมีการเชื่อมโยงถึงนักศึกษาผ่าน application และเล่าถึงการจัดการต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่ใน CMU เช่น การจัดการพลังงาน โดยเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหมดที่สิ้นเปลืองพลังงานใหม่หมด มีการติดตั้งระบบพลังงานทดแทน ในรูปแบบ solar rooftop และระบบติดตามการใช้พลังงานแบบเรียลไทม์ และการซื้อขายพลังงานยืนยันตัวตนผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน การจัดการขยะ มีการสร้างศูนย์จัดการขยะครบวงจร มีระบบการคัดแยกขยะ มีการผลิตไฟฟ้าจากเศษอาหาร การนำแก๊สมีเทนมาใช้เป็นพลังงานสำหรับรถโดยสารในมหาวิทยาลัย การจัดการน้ำเสีย กำลังก่อสร้างโรงงานบำบัดน้ำเสีย ที่จะเปิดใช้งานในเร็วนี้ โดยการนำน้ำเสียทั้งหมดมาบำบัด ความปลอดภัย มีการใช้กล้อง LPR บริเวณประตู อ่านป้ายทะเบียนคนเข้าออกบริเวณ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์การเดินทางภายในพื้นที่ และระบบขนส่ง สนับสนุนการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด และมีระบบติดตามผ่านทาง Application

 

Session 9 : การออกแบบและการก่อสร้าง ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมเชียงใหม่

โดย คุณรัฐวุฒิ จันทร์ศรีตระกูล

Managing Director
Architects 49 (Chiangmai)

 

 

คุณโจ ได้พูดถึงเรื่องของ B U I L K แต่ไม่ใช่เรื่องของบิลค์

B uilding – มีความผสมผสานและความหลากหลายที่มากขึ้น โดยในเชียงใหม่มีลักษณะเด่นในด้านวิวทิวทัศน์ และสภาพอากาศ วัสดุก่อสร้างได้มีการนำโครงสร้างเหล็กและไม้มาผสมผสาน และการออกแบบ smart office

U niqueness – การออกแบบที่เฉพาะ ไม่เหมือนใคร

I ntelligence – คนเชียงใหม่มีทักษะเฉพาะ

L ocality – ความเป็นพื้นถิ่นในด้านวัสดุ และ local partner(s)

K nowledge – องค์ความรู้ที่ทางบริษัทได้เรียนรู้

 

Session 10 : Digital Transformation for CONMAT การปรับตัวสำหรับร้านวัสดุก่อสร้างในยุคดิจิทัล

โดย คุณ รุ่งนารี พรรณเรืองรอง (ผู้บริหาร บริษัท เชียงใหม่ เซ็นเตอร์ สตีล จำกัด)
คุณ วัชรินทร์ สิริจิตราภรณ์ (กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตั้งหง่วงเซ้ง ไทยโฮมมาร์ท จำกัด) 

ทางคุณรุ่งนารี ผู้บริหารตั้งหง่วงเซ้ง เล่าว่าทางร้านเริ่มจากร้านตึกแถว และขยับขยายร่วมกับทาง SCG Home Solution โดยปัจจุบันเริ่มมีการเก็บข้อมูลหลายๆ ส่วนมากใช้ในการวางแผน และเน้นการทำงานผ่านข้อมูล มีการใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น การขายปลีก การขาย wholesale การติดตามโปรเจ็กต์ของผู้รับเหมา การจัดการโลจิสติกส์ ผ่านทางระบบของ SCG

ทางด้านของเชียงใหม่เซ็นเตอร์สตีล เริ่มมีการขายวัสดุก่อสร้างออนไลน์ (โดยร่วมกับทาง Builk) การจัดทำ e-bidding การใช้ช่องทางออนไลน์อื่นในด้าน social network มีการขยายตำแหน่งใหม่ ฝ่ายขายออนไลน์ และมีผู้รับผิดชอบด้านการทำดิจิทัลมาร์เกตติง การตลาดทั้งหมดขยับไปทางออนไลน์

ทั้งสองร้านรู้และเข้าใจเป็นอย่างดีว่า ยุคนี้เป็นยุคของโลกดิจิทัล ต้องปรับตัวให้ได้

 

ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน ทั้งผู้เข้าร่วมสัมนา Speakers และ Exhibitors ทุกท่าน 


 

Next Station….

“ขอนแก่น” ชาวอีสานลงทะเบียนได้เลย!

เข้างานฟรี จำกัดแค่จำนวน 200 ที่นั่ง

 

ลงทะเบียน

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X