โอกาสและมุมมองตลาดวัสดุก่อสร้างไทย ใน มาเลเซีย

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมาบิลค์ทีมได้มีโอกาสจับเข่าคุยกับคุณ ‘Lim Kim Chew’ ผู้จัดการฝ่าย Technical Service ระดับภูมิภาค ของบริษัท SHERA ที่ประเทศมาเลเซียถึง “มุมมองตลาดวัสดุก่อสร้างและโอกาสแบรนด์วัสดุก่อสร้างไทยในมาเลเซีย”  ครั้งนี้เราพูดคุยเจาะลึกถึงภาพรวมของตลาดวัสดุก่อสร้างในประเทศมาเลเซียอย่างหมดเปลือก รวมถึงได้ฟังความเห็นเกี่ยวกับโอกาสแบรนด์วัสดุไทยที่ต้องการเข้าไปลุยตลาดมาเลเซียอีกด้วย จะเป็นอย่างไรไปอ่านบทสัมภาษณ์กันเลยครับ

พฤติกรรมการซื้อวัสดุก่อสร้างของคนมาเลเซีย เป็นอย่างไรครับ

  • จริงๆแล้ว ขึ้นอยู่กับเมืองมากกว่าครับ เนื่องจากในมาเลเซีย พื้นที่ที่เป็นชนบท ชาวบ้านเป็นเจ้าของที่ดินเอง เหมือนกับ คนต่างจังหวัดของประเทศไทย ที่ผู้คนจะนิยมซื้อวัสดุก่อสร้าง และสร้างบ้านเอง ต่างจากในเมืองอย่างกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง หรือ เมืองใหญ่ๆ ผู้คนจะนิยมซื้อโครงการจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากกว่า ซึ่งตลาดอสังหาฯ ยังเติบโตอยู่ ถึงแม้จะมีเสียงบ่นเรื่องเศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่การขยายตัวของเมืองสมัยใหม่ (Urbanization & Modernization) ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวมาเลเซียสะดวกสบายขึ้น รถไฟใต้ดินสายใหม่ที่เพิ่งเปิดไปช่วงกีฬาซีเกมส์ 2017 ที่ผ่านมา โครงการ Mix-Used ห้างสรรพสินค้า คอนโดมีเนียม อาคารสำนักงาน ศูนย์กลางการงานแห่งใหม่ ฯลฯ ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมตลาดวัสดุก่อสร้างงานโครงการอสังหาฯ จึงค่อนข้างใหญ่หากเปรียบเทียบกับฝั่งของคนที่เลือกจะสร้างเอง มันคือวิถีของตลาดมาเลเซีย

ตลาดวัสดุก่อสร้างประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ในมาเลเซียเป็นอย่างไร

ตลาดไฟเบอร์ซีเมนต์ในมาเลเซียไม่ใหญ่มากครับ ถ้าเทียบกับไทยถือว่ายังเล็ก

  • ตลาดไฟเบอร์ซีเมนต์ในมาเลเซียไม่ใหญ่มากครับ ถ้าเทียบกับไทย ประชากรของมาเลเซียถ้าเทียบกับไทยน้อยกว่าเกือบจะสองเท่า (ประชากรในประเทศมาเลเซีย มีกว่า 30 ล้านคน แต่ประเทศไทยมีประมาณ 60-70 ล้านคน) ตลาดไฟเบอร์ซีเมนต์ถ้าเทียบกับประเทศไทยถือได้ว่าต่างกัน 5 เท่า เนื่องจาก ไฟเบอร์ซีเมนต์ในประเทศไทยจะมีการพัฒนารูปแบบที่มากกว่า และสามารถทำได้หลายฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็นผนัง ,พื้น,หลังคา ฯลฯ แต่มาเลเซีย เรากำลังอยู่ในขั้นตอนที่มุ่งเน้นไปที่ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด สำหรับงานผนังและฝ้า

ในมุมมองของคุณ อนาคตของตลาดวัสดุก่อสร้างประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ในมาเลเซียเป็นอย่างไร

  • อันดับแรกขอผมอธิบายตลาดวัสดุก่อสร้างในมาเลเซียตั้งแต่ปี 2015 ก่อนนะครับ ตลาดวัสดุก่อสร้างในมาเลเซียกำลังอยู่ในขาลงตั้งแต่ปีนั้น ก่อนหน้านี้เคยอยู่ในจุดที่ดีมาก เราแทบจะไม่ต้องโปรโมตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเรา แต่หลังจากปี 2015 ที่จริงแล้วไม่ใช่ตลาดวัสดุก่อสร้างที่อยู่ในขาลง แต่ภาพรวมทั้งหมด แม้แต่ธนาคารก็ไม่สามารถให้กู้ยืมได้ในจำนวนมาก ในปีหน้า 2018 ผมคิดว่าน่าจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือโดยจัดเตรียมเงินสนับสนุนและบ้านที่ประชาชนสามารถจ่ายได้

ถ้าแบรนด์ไทยอยากเข้ามาในตลาดมาเลเซีย มีคำแนะนำอย่างไรบ้างครับ

” เพิ่มราคา มีผลต่อภาษี “

  • โดยทั่วไปแล้ว มีวัสดุก่อสร้างมากมายที่มาจากประเทศไทย คุณสามารถเข้ามาในตลาดมาเลเซียได้ ถ้าผ่านมาตรฐานจาก CIDB (Construction Industry Development Board) อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณี ‘ไฟเบอร์ซีเมนต์’ ถือเป็นตลาดที่มีมาตรการป้องการการทุ่มตลาด เพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ ดังนั้นการนำเข้าไฟเบอร์ซีเมนต์นั้นต้องมีใบขออนุญาต ที่เรียกว่า Certificate of Approval (COA) ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์ต้องมีการทดสอบและผ่านการตรวจสอบบัญชีโดยรัฐบาลมาเลเซียเพื่อที่จะนำผลิตภัณฑ์นี้เข้าสู่มาเลเซียยกตัวอย่างเช่น ถ้าแบรนด์ไฟเบอร์ซีเมนต์ยี่ห้อไหนที่ต้องการเข้ามา จะไม่สามารถแค่เข้ามา แต่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ วิจัย และผ่านการตรวจสอบบัญชีของโรงงาน และจะใช้เวลาประมาณกว่า 9 เดือน – 12 เดือน และคุณจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของการนำเข้าเอง
  • อีกหนึ่งเหตุผลที่ไม่มีการนำเข้าไฟเบอร์ซีเมนต์ รวมถึงประเทศจีน เนื่องจาก รัฐบาลมีข้อห้ามในการควบคุมวัสดุ ไม่ใช่แค่ไฟเบอร์ซีเมนต์แต่เป็นแท่งเหล้กและเซรามิก รัฐบาลค่อนข้างจำแนกว่าเป็นสิ่งอันตรายอีกเหตุผลหนึ่งเป็นเรื่องของราคา เนื่องจากการนำเข้าไฟเบอร์ซีเมนต์แต่ละครั้ง (โดยเฉพาะประเทศไทย) คุณต้องเสียภาษีที่เรียกว่า (ADI-Anti Dumping Duty Tax) จากที่ผมเคยได้เกริ่นไปว่าในปี 2015 นั้น ตลาดวัสดุก่อสร้างค่อนข้างไปได้ดี ดังนั้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จากประเทศไทย อย่าง SCG และ SHERA ก็สามารถขายทำยอดขายเติบโตอย่างมากมาย  And in order to end-job the imported cost.ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมเป็นผู้ขาย ผมจะไม่ขายผลิตภัณฑ์ในราคาเดียวกับประเทศไทยและมาเลเซีย มันควรจะต่ำกว่าเนื่องจากค่าเงินที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ช่องว่างระหว่างราคาเกิดผลกระทบโดยตรงจาก ภาษี ของรัฐบาล Anti -Dumping Duty Tax ซึ่งเป็นภาษีที่มีขึ้นเพื่อตรวจสอบราคาให้ยุติธรรมในการซื้อขายระหว่างประเทศ  ดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดว่า ประเทศไทย ขายในราคาที่เยอะกว่าต่อปี เทียบกับราคาปกติและราคาที่ขายสู่มาเลเซีย นั่นจึงทำให้ภาษีซื้อขายนั้นเพิ่มขึ้นกว่า 31%  ดังนั้น ขอสรุปอีกครั้งครับว่า ถ้าแบรนด์ไทยต้องการเข้ามาในมาเลเซีย ไม่ควรที่จะเพิ่มราคามาก เนื่องจากจะมีผลต่อภาษี ถ้าผลิตภัณฑ์ของคุณเหมือนกับคนอื่น แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ของคุณมีวัสดุพิเศษบางอย่าง อาจขึ้นราคา และอาจได้กำไร ครับ

ผลิตภัณ์ที่ SHERA ขายอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้างครับ

  • เราเคยขาย ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดมากที่สุด ซึ่งถือได้ว่าเป็นสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์ในมาเลเซีย แค่ฝ้าผนังบอร์ดสามารถขายได้กว่า 70% ของสินค้าทั้งหมด แต่หลังจากปี 2015 เราขายผลิตภัณฑ์ไม้มากที่สุด เนื่องจากเรามีวัสดุพิเศษที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ และเนื่องจากเชอร่ามีสินค้าประเภทไม้หลายรูปแบบมากและแบรนด์ของมาเลเซียก็ไม่ได้มีสินค้าที่เหมือนกับของเราเลยทำให้เรายังสามารถที่จะขายได้เรื่อยๆก่อนหน้าที่นโยบายภาษี ADI จะเข้ามา เราไม่สามารถที่จะขายวัสดุที่เป็นประเภทหลังคาได้เลย แต่หลังจาก ADI เข้ามากำหนด เราก็สามารถขายผลิตภัณฑ์ประเภทหลังคาได้จำนวนมากเนื่องจากสินค้าประเภทนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้กฏภาษี ADI ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำนั้นจัดอยู่ในประเภทแผ่นหลังคา ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสิ่งเดียวกันกับไฟเบอร์ซีเมนต์ แต่มันได้ถูกจัดให้อยู่ในวัสดุคนละประเภท เนื่องจากลักษณะของวัสดุมีลักษณะเป็นคลื่น นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้วัสดุชนิดนี้ไม่ถูกจัดอยู่ในสินค้าที่มีการเก็บภาษี ADI หรือภาษีชนิดอื่น ทางเราจึงเลือกที่จะโฟกัสการโปรโมทไปที่สินค้าตัวหลังคาเป็นหลัก

เข้าชม Company Profile SHERA ใน BUILK.COM

คลิก :  https://app.builk.com/shera

Leave a Reply

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X