SME เตรียมรับทรัพย์  ถ้าบริหารเงินแบบนี้ !

SME เตรียมรับทรัพย์ ถ้าบริหารเงินแบบนี้ !

 

          ต้นปีอย่างนี้เป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้จัดระเบียบสำรวจธุรกิจตัวเอง เพื่อบริหารจัดการภายในธุรกิจให้เรียบร้อยเสริมความแข็งแรงให้ธุรกิจตั้งแต่ต้นปี เพราะการเริ่มออกสตาร์ทดีช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีวิ่งเข้าสู่เส้นชัยอย่างที่หวังไว้ได้เร็วขึ้น ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะเป็นตัวผลักดันก็คือ การบริหารให้ธุรกิจมีสภาพคล่องดี เรามาดู 5 วิธีบริหารเงินที่จะทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสภาพคล่องดีไม่มีสะดุด

1. บริหารธุรกิจด้วยบัญชีเล่มเดียว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมักจะมีบัญชี 2 เล่ม เพราะมัวแต่กังวลว่าจะซ่อนรายได้เลี่ยงภาษีอย่างไร จนไปๆ มาๆ หารายได้และค่าใช้จ่ายที่แท้จริงไม่เจอ แต่เอสเอ็มอียุค 4.0 อย่างเราควรเริ่มต้นใหม่ เลิกทำตัวหลบๆ ซ่อนๆ เลี่ยงภาษี แล้วหันมาวางแผนประหยัดภาษีจะเวิร์กกว่า อย่าลืมว่าค่าใช้จ่ายหลายอย่างในกิจการสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งการทำบัญชี 2 เล่ม อาจทำให้เอสเอ็มอีใช้สิทธิประโยชน์ตรงนี้ไม่ได้ นอกจากนี้กรมสรรพากรเองยังออกสารพัดมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทำบัญชีเพียงเล่มเดียว ดังนั้นถือเป็นฤกษ์ดีที่จะเริ่มต้นทำในปีใหม่นี้

2. บริหารสภาพคล่องให้ลื่นปรื๊ด สภาพคล่องหรือเงินหมุนเวียนในธุรกิจคือ ความสมดุลระหว่างเงินที่รับเข้ามากับเงินที่ต้องจ่ายออกไป แต่ต้องมีมากแค่ไหนถึงเรียกว่าคล่อง? ซึ่งโดยทั่วไปก็ควรมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน เช่น ธุรกิจต้องจ่ายหนี้ให้คู่ค้า 100 บาท ก็ควรมีทรัพย์สินพร้อมเปย์เตรียมอยู่ในกระเป๋าเพียงพอต่อการจ่ายหนี้ที่ครบกำหนดต้องจ่าย อย่าให้ผิดนัด สภาพคล่องดี เครดิตดี ใครๆ ก็อยากทำธุรกิจด้วย

3. แยกให้ขาดเงินใครเป็นใคร เนื่องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมักไม่แยกเงินให้เป็นสัดส่วน นำเงินส่วนตัวกับเงินของกิจการมาปะปนกัน ทำไปทำมากลายเป็นว่าขายดีจนเจ๊งอย่างที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แถมรายจ่ายในเรื่องส่วนตัวยังเอามาลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจไม่ได้ด้วย รายจ่ายแบบนี้จึงมีแต่เสียกับเสีย คือเสียเงินจ่ายออกไปแล้วยังเสียโอกาสลดหย่อนภาษีธุรกิจอีก นอกจากนี้ผู้ประกอบการอาจลืมไปว่ายังเสียโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอีกด้วย เพราะธนาคารมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ธุรกิจ ไม่ใช่การใช้จ่ายเพื่อลงทุนสร้างรายได้ในอนาคตนั่นเอง ดังนั้นเริ่มต้นปีใหม่เอสเอ็มอีก็ควรเริ่มแยกกระเป๋าเลยจะดีกว่า

4. ลูกหนี้คือเงินที่ยังนับไม่ได้ เพราะลูกหนี้คือรายได้ที่ธุรกิจยังไม่ได้รับเงินมาจริงๆ จึงยังนับเป็นรายรับของธุรกิจไม่ได้ ผู้ประกอบการต้องบริหารสัดส่วนการขายเชื่อกับขายสด รวมถึงระยะเวลาที่ให้เครดิตกับลูกหนี้จะต้องสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ธุรกิจได้เครดิตจากเจ้าหนี้ของตัวเอง เนื่องจากการให้เครดิตที่ยาวนานเกินไปย่อมกระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ และเป็นความเสี่ยงที่ธุรกิจต้องรับภาระเอาไว้

5. แผนสำรองเตรียมพร้อมเสมอ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เสมอ เช่น ไฟไหม้ ค่าเงินผันผวน คนงานนัดหยุดงาน หรือลูกค้าหลักหายไป ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจึงควรมีแผนสำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ

          การทำยอดขายให้ได้สูงๆ เป็นเรื่องที่อยู่ในความคิดผู้ประกอบการอยู่แล้ว แต่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างเราต้องไม่มองข้ามเรื่องบริหารเงินด้วย เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือรากฐานในการขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจจะต้องเดินลุยไฟหรือบนกลีบกุหลาบ หากฐานของธุรกิจมั่นคงแล้ว ธุรกิจจะสามารถยืนหยัดฝ่าฟันต่อไปได้​​

 

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://goo.gl/GtnJ1V

 

     

Leave a Reply

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X